นาคาวโลก - นานาสังวาส
นาคาวโลก การเหลียวมองอย่างพญาช้าง,
มองอย่างช้างเหลียวหลัง คือเหลียวดูโดยหันกายกลับมาทั้งหมดเป็นกิริยา
ของพระพุทธเจ้า; เป็นชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง ซึ่งทำกิริยาอย่างนั้น
นาคิตะ พระเถระมหาสาวกองค์หนึ่งเคยเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธองค์
มีพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่ท่านเกี่ยวกับ
เนกขัมมสุข ปรากฏอยู่ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ๒-๓ แห่ง
นางเร็ด ชื่อขนมชนิดหนึ่ง
ทำเป็นแผ่นกลมโรยน้ำตาล พจนานุกรมเขียน นางเล็ด
นาถ ที่พึ่ง, ผู้เป็นที่พึ่ง
นาถกรณธรรม ธรรมทำที่พึ่ง,
ธรรมสร้างที่พึ่ง, คุณธรรมที่ทำให้พึ่งตนได้ มี ๑๐ อย่างคือ ๑. ศีล
มีความประพฤติดี
๒. พาหุสัจจะ ได้เล่าเรียนสดับฟังมาก ๓. กัลยาณมิตตตา มีมิตรดีงาม
๔. โสวจัสสตา เป็นคนว่าง่าย ฟังเหตุผล
๕. กิงกรณีเยสุ ทักขตา เอาใจใส่กิจธุระของเพื่อนร่วมหมู่คณะ ๖ ธัมมกามตา
เป็นผู้ใคร่ธรรม ๗. วิริยะ ขยันหมั่นเพียร
๘. สันตุฏฐี มีความสันโดษ ๙. สติ มีสติ ๑๐. ปัญญา มีปัญญาเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
นานาธาตุญาณ ปรีชาหยั่งรู้ธาตุต่างๆ
คือรู้จักแยกสมมติออกเป็นขันธ์อายตนะ ธาตุต่าง ๆ (ข้อ ๔ ในทศพลญาณ)
นานาธิมุตติกญาณ
ปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัยของสัตว์ ที่โน้มเอียง เชื่อถือสนใจ พอใจต่าง ๆ กัน
(ข้อ ๕ ในทศพลญาณ)
นานานิกาย นิกายต่าง
ๆ คือหมู่แห่งสงฆ์ต่างหมู่ต่างคณะ
นานาภัณฑะ ทรัพย์ต่างกันคือหลายสิ่ง,
ภัณฑะต่าง ๆ, สิ่งของต่างชนิด ต่างประเภท
นานาสังวาส มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วม
(คืออุโบสถและสังฆกรรมเป็นต้น) ที่ต่างกัน, สงฆ์ผู้ไม่ร่วมสังวาส คือ ไม่ร่วม
อุโบสถและสังฆกรรมด้วยกัน เรียกว่าเป็นนานาสังวาสของกันและกัน เหตุที่ทำให้เป็นนานาสังวาสมี
๒ คือ ภิกษุทำ
ตนให้เป็นนานาสังวาสเอง เช่น อยู่ในนิกายหนึ่งไปขอเข้านิกายอื่น หรือแตกจากพวกเพราะเหตุวิวาทาธิกรณ์อย่าง
หนึ่ง อีกอย่างหนึ่งถูกสงฆ์พร้อมกันยกออกจากสังวาส