บอกศักราช - บัณเฑาะก์

บอกศักราช
เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ไทยแต่โบราณ มีการบอกกาล เวลา เรียกว่าบอกศักราช ตอนท้ายสวดมนต์
และก่อนจะแสดงพระธรรมเทศนา (หลังจากให้ศีลจบแล้ว) ว่าทั้งภาษาบาลีและคำแปลเป็นภาษาไทยการบอกอย่าง
เก่าบอกปี ฤดู เดือน วัน ทั้งที่เป็นปัจจุบัน อดีต และอนาคต คือบอกว่าล่วงไปแล้วเท่าใด และยังจะมีมาอีกเท่าใด จึงจะ
ครบจำนวนอายุพระพุทธศาสนา ๕ พันปี แต่ประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๔ ที่รัฐบาลประกาศใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้น
ปีใหม่ เป็นต้นมา ได้มีวิธีบอกศักราชอย่างใหม่ขึ้นใช้แทน บอกเฉพาะปี พ.ศ. เดือน วันที่ และวันในปัจจุบัน ทั้งบาลี
และคำแปล บัดนี้ไม่นิยมกันแล้ว คงเป็นเพราะมีปฏิทินและเครื่องบอกเวลาอย่างอื่นใช้กันดื่นทั่วไป

บังคม ไหว้

บังสุกุล ผ้าบังสุกุล หรือ บังสุกุลจีวร; ในภาษาไทยปัจจุบัน มักใช้เป็นคำกริยา หมายถึงการที่พระสงฆ์ชักเอาผ้าซึ่งเขา
ทอดวางไว้ที่ศพ ที่หีบศพหรือที่สายโยงศพ

บังสุกุลจีวร ผ้าที่เกลือกกลั้วด้วยฝุ่น, ผ้าที่ได้มาจาก กองฝุ่น กองหยากเยื่อซึ่งเขาทิ้งแล้ว ตลอดถึงผ้าห่อคลุมศพที่เขา
ทิ้งไว้ในป่าช้า ไม่ใช่ผ้าที่ชาวบ้านถวาย, ปัจจุบันมักหมายถึงผ้าที่พระชักจากศพโดยตรงก็ตาม จากสายโยงศพก็ตาม

บัญญัติ การตั้งขึ้น, ข้อที่ตั้งขึ้น, การกำหนดเรียก, การเรียกชื่อ, การวางเป็นกฎไว้, ข้อบังคับ

บัณฑิต ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์, ผู้ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา

บัณฑิตชาติ เผ่าพันธุ์บัณฑิต, เหล่านักปราชญ์, เชื่อนักปราชญ์

บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ แท่นหินมีสีดุจผ้ากัมพลเหลือง เป็นที่ประทับของพระอินทร์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (อรรถกถา
ว่า สีแดง)

บัณเฑาะก์ กะเทย, คนไม่ปรากฏว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง ได้แก่กะเทยโดยกำเนิด ๑ ชายผู้ถูกตอนที่เรียกว่าขันที ๑
ชายมีราคะกล้าประพฤตินอกจารีตในทางเสพกามและยั่วยวนชายอื่นให้เป็นเช่นนั้น ๑