บรรพต - บริโภคเจดีย์

บรรพต
ภูเขา

บรรยาย การสอน, การแสดง, การชี้แจง; นัยโดยอ้อม, อย่าง, ทาง

บรรลุ ถึง, สำเร็จ

บริกรรม 1. (ในคำว่า “ถ้าผ้ากฐินนั้นมีบริกรรมสำเร็จดีอยู่”) การตระเตรียม, การทำความเรียบร้อยเบื้องต้น เช่น ซัก
ย้อม กะ ตัด เย็บ เสร็จแล้ว 2. สถานที่เขาลาดปูน ปูไม้ ขัดเงา หรือ ชักเงา โบกปูน ทาสี เขียนสี แต่งอย่างอื่น เรียกว่าที่
ทำบริกรรม ห้ามภิกษุถ่มน้ำลาย หรือนั่งพิง 3. การนวดฟั้นประคบ หรือถูตัว 4. การกระทำขั้นต้นในการเจริญสมถ
กรรมฐาน คือ กำหนดใจโดยเพ่งวัตถุ หรือนึกถึงอารมณ์ที่กำหนดนั้น ว่าซ้ำๆ อยู่ในใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อทำใจให้
สงบ 5. เลือนมาเป็นความหมายในภาษาไทย หมายถึงท่องบ่น, เสกเป่า

บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นต้นหรือขั้นตระเตรียม คือ กำหนดใจ โดยเพ่งดูวัตถุ หรือนึกว่าพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆ
คุณ เป็นต้น ซ้ำ ๆ อยู่ในใจ

บริขาร เครื่องใช้สอยของนักพรต, เครื่องใช้สอยของพระในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สงบ จีวร สังฆาฏิ บาตร
มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองน้ำ นิยมเรียกรวมว่า อัฐบริขาร (บริขาร ๘)

บริขารโจล ท่อนผ้าใช้เป็นบริขาร เช่น ผ้ากรองน้ำ ถุงบาตร ย่าม ผ้าห่อของ

บริจาค สละให้, เสียสละ บัดนี้มักหมายเฉพาะการร่วมให้หรือการสละเพื่อการบุญ

บริภัณฑ์ ดู สัตตบริภัณฑ์

บริโภค กิน, ใช้สอย, เสพ; ในประโยคว่า “ภิกษุใดรู้อยู่ บริโภคน้ำ มีตัวสัตว์ เป็นปาจิตติยะ” หมายถึง ดื่ม อาบ และใช้
สอยอย่างอื่น

บริโภคเจดีย์ เจดีย์คือสิ่งของหรือสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเคยทรงใช้สอยเกี่ยวข้อง ได้แก่ ตุมพสตูป อังคารสตูป และ
สังเวชนียสถานทั้ง ๔ ตลอดถึงบาตร จีวร เตียง ตั่ง กุฎี วิหาร ที่พระพุทธเจ้าทรงใช้สอย