กุศลธรรม - กูฏทันตสูตร

กุศลธรรม ธรรมที่เป็นกุศล, ธรรมฝ่ายกุศล, ธรรมที่ดี, ธรรมฝ่ายดี

กุศลบุญจริยา ความประพฤติที่เป็นบุญเป็นกุศล, การทำความดีอย่างฉลาด

กุศลมูล รากเหง้าของกุศล, ต้นเหตุของกุศล, ต้นเหตุของความดีมี ๓ อย่าง คือ ๑. อโลภะ ไม่โลภ (จาคะ) ๒. อโทสะ
ไม่คิดประทุษร้าย (เมตตา) ๓. อโมหะ ไม่หลง (ปัญญา)

กุศลวัตร ข้อปฏิบัติที่ดี, กิจที่พึงทำที่ดี

กุศลวิตก ความตริตรึกที่เป็นกุศล, ความนึกคิดที่ดีงามมี ๓ คือ ๑. เนกขัมมวิตก ความตรึกปลอดจากกาม
๒. อพยาบาทวิตก
ความตรึกปลอดจากพยาบาท ๓. อวิหิงสาวิตก ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน

กุสาวดี ชื่อเก่าของเมืองกุสินารา นครหลวงของแคว้นมัลละ เมื่อครั้งเป็นราชธานีของพระเจ้ามหาสุทัศน์ จักรพรรดิ
ครั้งโบราณ

กุสิ เส้นคั่นดุจคันนายืนระหว่างขัณฑ์กับขัณฑ์ของจีวร

กุสินารา เมืองหลวงแห่งหนึ่งของแคว้นมัลละ (อีกแห่งหนึ่งคือ ปาวา) สมัยพุทธกาล กุสินารา เป็นเมืองเล็ก ๆ มีมัลล
กษัตริย์เป็นผู้ปกครอง พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานที่เมืองนี้

กูฏทันตสูตร สูตรหนึ่งในคัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค สุตตันตปิฎก พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่กูฏทันตพราหมณ์ผู้
กำลังเตรียมพิธีบูชายัญ ว่าด้วยวิธีบูชายัญตามความหมายในแบบของพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่ต้องมีการฆ่าฟันเบียด
เบียนสัตว์ มีแต่การเสียสละทำทานและการทำความดีอื่น ๆ เริ่มด้วยการตระเตรียมพิธีโดยจัดการบ้านเมืองให้สงบ
เรียบร้อยก่อนตามธรรมวิธี มีการส่งเสริมกสิกรรม พาณิชยกรรมสัมมาชีพ และบำรุงส่งเสริมข้าราชการที่ดี ซึ่งจะทำ
ให้ประชาชนขวนขวายขะมักเขม้นในหน้าที่การงานของตนๆ จนบ้านเมืองมีความเกษมปลอดภัย พลเมืองมีความสุข
ราชทรัพย์บริบูรณ์ดีแล้ว จึงกระทำพิธีบูชายัญ ด้วยการบริจาคทรัพย์ทำทานเป็นต้น ผลของพระธรรมเทศนานี้ คือ กูฏ
ทันตพราหมณ์ล้มเลิกพิธีบูชายัญของตนปล่อยสัตว์ทั้งหมด และประกาศตนเป็นอุบาสก