กุรุ - กุศลกรรมบถ
กุรุ แคว้นหนึ่งในบรรดา
๑๖ แคว้นแห่งชมพูทวีป นครหลวงชื่อ อินทปัตถ์
กุล ตระกูล, วงศ์,
เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์
กุลทูสก ผู้ประทุษร้ายตระกูล
หมายถึงภิกษุผู้ประจบคฤหัสถ์ เอาใจเขาต่างๆ ด้วยอาการอันผิดวินัย มุ่งเพื่อให้เขาชอบ
ตนเป็นส่วนตัว เป็นเหตุให้เขาคลายศรัทธาในพระศาสนาและเสื่อมจากกุศลธรรม เช่นให้ของกำนัลเหมือนอย่างคฤหัสถ์
เขาทำกัน ยอมตัวให้เขาใช้เป็นต้น
กุลธิดา ลูกหญิงผู้มีตระกูล
มีความประพฤติดี
กุลบุตร ลูกชายผู้มีตระกูลมีความประพฤติดี
กุลปสาทกะ ผู้ยังตระกูลให้เลื่อมใส
กุลมัจฉริยะ ตระหนี่ตระกูล
ได้แก่หวงแหนตระกูล ไม่ยอมให้ตระกูลอื่นมาเกี่ยวดองด้วย ถ้าเป็นบรรพชิตก็หวง
อุปัฏฐาก ไม่พอใจให้ไปบำรุงภิกษุอื่น ดู มัจฉริยะ
กุลสตรี หญิงมีตระกูลมีความประพฤติ
ดี
กุลุปกะ, กุลูปกะ ผู้เข้าถึงสกุล,
พระที่คุ้นเคยสนิท ไปมาหาสู่ประจำของตระกูล, พระที่เขาอุปถัมภ์และเป็นที่ปรึกษา
ประจำของครอบครัว
กุศล บุญ, ความดี,
ฉลาด, สิ่งที่ดี, กรรมดี
กุศลกรรม กรรมดี,
กรรมที่เป็นกุศล, การกระทำที่ดีคือเกิดจากกุศลมูล
กุศลกรรมบถ ทางแห่งกรรมดี,
ทางทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติมี ๑๐ อย่าง
คือ ก.
กายกรรม ๓ ได้แก่ ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำลายชีวิต ๒.
อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้
ให้ ๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม ข. วจีกรรม
๔ ได้แก่ ๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูด
เท็จ ๕. ปิสุณายวาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด ๖. ผรุสาย วาจาย
เวรมณี เว้นจาก พูดคำหยาบ ๗. สัมผัปปลาปา
เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ ค. มโนกรรม ๓ ได้แก่ ๘. อนภิชฌา
ไม่โลภคอยจ้องอยากได้ของเขา ๙. อพยาบาท ไม่
คิดร้ายเบียดเบียนเขา ๑๐. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม