กาลเทศะ - กาสะ
กาลเทศะ เวลาและประเทศ,
เวลาและสถานที่
กาลวิภาค การแจกกาลออกเป็นเดือนปักษ์
และวัน
กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลาอันสมควรในการประกอบกิจนั้น
ๆ เช่น รู้ว่าเวลาไหนควรทำอะไร เป็นต้น
(สัปปุริสธรรม ๗ ข้อ ๕)
กาลามสูตร สูตรหนึ่งในคัมภีร์ติกนิบาต
อังคุตตรนิกาย พระพุทธเจ้าตรัสสอนชนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคมใน
แคว้นโกศล ไม่ให้เชื่อถืองมงายไร้เหตุผล ตามหลัก ๑๐ ข้อ คือ อย่าปลงใจเชื่อ
ด้วยการฟังตามกันมา, ด้วยการถือสืบ ๆ
กันมา, ด้วยการเล่าลือ, ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์, ด้วยตรรก, ด้วยการอนุมาน,
ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล,
เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน, เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ, เพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้
เป็นครูของเรา ;
ต่อเมื่อใด พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษไม่มีโทษ
เป็นต้น แล้ว จึงควรละหรือ
ถือปฏิบัติตามนั้น เรียกอีกอย่างว่าเกสปุตติยสูตร หรือเกสปุตตสูตร
กาลิก เนื่องด้วยกาล,
ขึ้นกับกาล, ของอันจะกลืนกินให้ล่วงลำคอเข้าไปซึ่งพระวินัยบัญญัติให้ภิกษุรับเก็บไว้และฉันได้
ภายในเวลาที่กำหนด จำแนกเป็น ๔ อย่าง คือ ๑. ยาวกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่วเวลาเช้าถึงเที่ยงของวันนั้น
เช่น
ข้าว ปลา เนื้อ ผัก ผลไม้ ขนมต่าง ๆ ๒. ยามกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่ง
คือก่อนอรุณของวัน
ใหม่ ได้แก่ ปานะ คือ น้ำคั้นผลไม้ที่ทรงอนุญาต ๓. สัตตาหกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ภายในเวลา
๗ วัน ได้แก่
เภสัชทั้งห้า ๔. ยาวชีวิก รับประเคนแล้ว ฉันได้ตลอดไปไม่จำกัดเวลา
ได้แก่ของที่ใช้ปรุงเป็นยา นอกจากกาลิก ๓ ข้อต้น
(ความจริงยาวชีวิก ไม่เป็นกาลิก แต่นับเข้าด้วยโดยปริยาย เพราะเป็นของเกี่ยวเนื่องกัน)
กาววาว ฉูดฉาด,
หรูหรา, บาดตา
กาสะ ไอ (โรคไอ)