กามสมบัติ - กายคตาสติ, กายสติ
กามสมบัติ สมบัติคือกามารมณ์,
ความถึงพร้อมด้วยกามารมณ์
กามสังวร ความสำรวมในกาม,
การรู้จักยับยั้งควบคุมตนในทางกามารมณ์ไม่ให้หลงใหลหมกมุ่นใน รูป เสียง กลิ่น
รส และสัมผัส (ข้อ ๓ ในเบญจธรรม)
กามสุข สุขในทางกาม,
สุขที่เกิดจากกามารมณ์
กามสุขัลลิกานุโยค การประกอบตนให้พัวพันหมกมุ่นอยู่ในกามสุข
เป็นที่สุดอย่างหนึ่ง ในบรรดาที่สุดสอง คือ
กามสุขัลลิกานุโยค ๑ อัตตกิลมถานุโยค ๑
กามสุคติภูมิ กามาวจรภูมิที่เป็นสุคติ
คือ มนุษย์และสวรรค์ ๖ (จะแปลว่า สุคติภูมิที่ยังเกี่ยวข้องกับกาม ก็ได้)
กามาทีนพ โทษแห่งกาม,
ข้อเสียของกาม
กามารมณ์ 1. อารมณ์ที่น่าใคร่
น่าปรารถนา หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ได้แก่กามคุณ ๕ นั่นเอง
2. ในภาษาไทย มักหมายถึงความรู้สึกทางกาม
กามาวจร ซึ่งท่องเที่ยวไปในกามภพ,
ซึ่งเกี่ยวข้องอยู่กับกาม
กามาสวะ อาสวะคือกาม,
กิเลสดองอยู่ในสันดานที่ทำให้เกิดความใคร่ ดู อาสวะ
กามุปาทาน ความยึดติดถือมั่นในกาม
ยึดถือว่าเป็นของเรา หรือจะต้องเป็นของเรา จนเป็นเหตุให้เกิดริษยา หรือ
หวงแหน ลุ่มหลง เข้าใจผิด ทำผิด
กาเมสุมิจฉาจาร ความประพฤติผิดในกามทั้งหลาย,
ความผิดประเวณี
กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม,
เว้นการล่วงประเวณี
กายกรรม การกระทำทางกาย
เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม หรือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการ
ลักทรัพย์ เป็นต้น
กายกัมมัญญตา ความควรแก่การงานแห่งนามกาย,
ธรรมชาติที่ทำนามกาย คือ เจตสิกทั้งหลายให้อยู่ในภาวะที่
ทำงานได้ดี (ข้อ ๑๔ ในโสภณเจตสิก ๒๕)
กายคตาสติ, กายสติ สติที่เป็นไปในกาย,
สติอันพิจารณากายให้เห็นตามสภาพที่มีส่วนประกอบ ซึ่งล้วนเป็นของ
ไม่สะอาด ไม่งาม น่ารังเกียจ ทำให้เกิดความรู้เท่าทัน ไม่หลงใหลมัวเมา