ปุตตะ - ปุริสภาวะ
ปุตตะ เป็นชื่อนรกขุมหนึ่งของลัทธิพราหมณ์ พวกพราหมณ์ถือว่าชายใดไม่มีลูกชาย
ชายนั้นตายไปต้องตกนรกขุม "ปุตตะ"
ถ้ามีลูกชาย ลูกชายนั้นช่วยป้องกันไม่ให้ตกนรกขุมนั้นได้ศัพท์ว่า บุตร
จึงใช้เป็นคำเรียกลูกชายสืบมา แปลว่า ลูกผู้ป้องกัน
พ่อจากขุมนรก ปุตตะ
ปุถุชน คนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส,
คนที่ยังมีกิเลสมาก หมายถึงคนธรรมดาทั่วๆ ไป ซึ่งยังไม่เป็นอริยบุคคล หรือ
พระอริยะ
ปุนัพพสุกะ ชื่อภิกษุรูปหนึ่งอยุ่ในภิกษุเหลวไห
๖ รูป ที่เรียกว่าพระฉัพพัคคีย์คู่กับพระอัสสชิ
ปุปผวิกัติ ดอกไม้ที่แต่งเป็นชนิดต่างๆ
เช่น ร้อยตรึง ร้อยคุม ร้อยเสียบ ร้อยผูก ร้อยลง ร้อยกรอง เป็นต้น
ปุพพเปตพลี การทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ตาย
(ข้อ ๓ ในพลี ๕ แห่งโภคอาทิยะ ๕)
ปุพพัณณะ ดู บุพพัณณะ
ปุพเพกตปุญญตา
ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในก่อน, ทำความดีให้พร้อมไว้ก่อนแล้ว (ข้อ ๔
ในจักร ๔)
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน, ระลึกชาติได้ (ข้อ
๑ ในวิชชา ๓, ข้อ๔ ใน
อภิญญา ๖, ข้อ ๖ ในวิชชา ๘, ข้อ ๘ ในทศพลญาณ)
ปุรณมี วันเพ็ญ,
วันพระจันทร์เต็มดวง, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ
ปุรัตถิมทิศ ทิศเบื้องหน้า
หมายถึงมารดาบิดา ดู ทิศหก
ปุราณจีวร
จีวรเก่า
ปุราณชฎิล พระเถระสามพี่น้องพร้อมด้วยบริวาร
คือ อุรุเวลกัสสป นทีกัสสป คยากัสสป ซึ่งเคยเป็นชฏิลมาก่อน
ปุริมกาล เรื่องราวในพุทธประวัติที่มีขึ้นในกาลก่อนแต่บำเพ็ญพุทธกิจ
ปุริมพรรษา พรรษาต้น
เริ่มแต่วันแรมค่ำหนึ่งเดือนแปด ในปีที่ไม่มีอธิกมาสเป็นต้นไป เป็นเวลา ๓
เดือนคือถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ
เดือน ๑๑
ปุริมิกา วันเข้าพรรษาต้น
ได้แก่วันแรมค่ำหนึ่ง เดือน ๘ เทียบ ปัจฉิมิกา
ปุริสภาวะ
ความเป็นบุรุษ หมายถึง ภาวะอันให้ปรากฎมีลักษณะอาการต่างๆ ที่แสดงถึงความเป็นเพศชาย