ปิปาสวินโย - ปีติ
ปิปาสวินโย ความนำออกไปเสียซึ่งความกระหาย, กำจัดความกระหาย
คือ ตัณหาได้ (เป็นไวพจน์ของวิราคะ)
ปิยรูป สาตรูป สภาวะที่น่ารักน่าชื่นใจมุ่งเอาส่วนที่เป็นอิฏฐารมณ์ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งตัณหามี
๑๐ หมวดๆ ละ ๖ อย่าง คือ
อายตนะภายใน ๖ อายตนะ ภายนอก ๖ วิญญาณ ๖ สัมผัส ๖ เวทนา ๖ สัญญา ๖ สัญเจตนา
๖ มีรูปสัญเจตนา เป็นต้น ตัณหา
๖ มีรูปตัณหา เป็นต้น วิตก ๖ มีรูปวิตกเป็นต้น วิจาร ๖ มีรูปวิจาร เป็นต้น
ปิยวาจา วาจาเป็นที่รัก,
พูดจากน่ารักน่านิยมนับถือ, วาจาน่ารัก, วาจาที่กล่าวด้วยจิตเมตตา, คำที่พูดด้วยความรักความ
ปรารถนาดี เช่น คำพูดสุภาพอ่อนโยน คำแนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี ดู สังคหวัตถุ
ปิยารมณ์ อารมณ์อันเป็นที่รัก
เป็นที่น่าปรารถนา น่าชอบใจ เช่น รูปที่สวยงาม เป็นต้น
ปิลินทวัจฉะ พระมหาสาวกองค์หนึ่งเกิดในตระกูลพรามหมณ์วัจฉโคตร
ในเมืองสาวัตถี ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระ
พุทธเจ้า มีศรัทธาเลื่อมใสออกบวชในพระพุทธศาสนา เจริญวิปัสสนาแล้วได้บรรลุอรหัตตผล
ต่อมาได้รับยกย่องว่าเป็น
เอตทัคคะในทางเป็นที่รักของพวกเทวดา
ปิลินทวัจฉคาม ชื่อหมู่บ้านของคนงานวัดจำนวน
๕๐๐ ที่พระเจ้าพิมพิสาร พระราชทานให้เป็นผู้ช่วยทำที่อยู่ของพระปิลินท
วัจฉะ
ปิสุณาย วาจาย เวรมณี
เว้นจากพูดส่อเสียด, เว้นจากพูดยุยงให้เขาแตกร้าวกัน (ข้อ ๕ ในกุศลกรรมบถ
๑๐)
ปิสุณาวาจา วาจาส่อเสียด,
พูดส่อเสียด, พูดยุยงให้เขาแตกร้าวกัน (ข้อ ๕ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)
ปิหกะ ไต
ปีติ ความอิ่มใจ,
ความดื่มด่ำในใจ มี ๕ คือ ๑. ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อยพอขนชันน้ำตาไหล
๒. ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะรู้สึก
แปลบๆ ดุจฟ้าแลบ ๓. โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นระลอกรู้สึกซู่ลงมาๆ ดุจคลื่นซัดฝั่ง
๔. อุพเพคาปีติ ปีติโลดลอย ให้ใจฟูตัวเบา
หรืออุทานออกมา ๕. ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์เป็นของประกอบกับสมาธิ