ปาสาทิกสูตร - ปิปผลิ, ปิปผลิมาณพ
ปาสาทิกสูตร ชื่อสูตรที่ ๖ ในคัมภีร์ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
พระสุตตันตปิฎก
ปาหุเนยฺโย ผู้ควรแก่ของต้อนรับ,
พระสงฆ์เป็นผู้ควรได้รับของต้อนรับคือของสำหรับรับแขกที่ควรถวายเมื่อไปถึงเบ้านเช่น
น้ำดื่ม อาหาร เป็นต้น (ข้อ ๖ ในสังฆคุณ ๙)
ปิงคิยมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน
๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์
ปิฎก ตามศัพท์แปลว่า
กระจาด หรือตระกร้าอันเป็นภาชนะสำหรับใส่ของต่างๆ เอามาใช้ในความหมายเห็นที่รวบรวมคำ
สอนในพระพุทธศาสนาที่จัดเป็นหมวดหมู่แล้ว มี ๓ คือ ๑. วินัยปิฏก รวบรวมพระวินัย
๒. สุตตันตปิฏก รวบรวมพระสูตร
๓. อภิธรรมปิฏก รวบรวมพระอภิธรรม เรียกรวมกันว่าพระไตรปิฎก (ปิฎก ๓)
ดู ไตรปิฏก
ปิณฑปาติกธุดงค์
องค์คุณเครื่องขจัดกิเลสแห่งภิกษุเป็นต้นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร หมายถึง
ปิณฑปาติกังคะนั่นเอง
ปิณฑปาติกังคะ
องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คือ ไม่รับนิมนต์ หรือลาภพิเศษอย่างอื่นใด
ฉันเฉพาะอาหารที่
บิณฑบาตมาได้ (ข้อ ๓ ในธุดงค์ ๑๓)
ปิณโฑล ภารทวาชะ
พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์มหาศาลภารทวาชโคตร ในพระนครราชคฤห์ เรียนจบไตร
เพท ออกบวชในพระพุทธศาสนา ได้สำเร็จพระอรหัต เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสติ สมาธิ
ปัญญา มักเปล่งวาจาว่า "ผู้ใดมีความ
เคลือบแคลงสงสัยในมรรคก็ดี ผลก็ดี ขอผู้นั้นจงมาถามข้างเจ้าเถิด" พระศาสดาทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางบันลึกสี
หนาท
ปิตฺตสมุฏฺฐานา อาพาธา ความเจ็บไข้มีดีเป็นสมุฏฐาน
ปิตตะ น้ำดี, น้ำจากต่อมตับ,
โรคดีเดือด
ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
(ข้อ ๒ ในอนันตริยกรรม ๕)
ปิปผลิ, ปิปผลิมาณพ
ชื่อของพระมหากัสสปเถระ เมื่อก่อนออกบวช ส่วนกัสสปะ เป็นชื่อที่เรียกตามโคตร