ปาจีน - ปาฏิโมกข์ย่อ
ปาจีน ทางทิศตะวันออก, ชาวตะวันออก ดู ชาวปาจีน
ปาจีนทิศ ทิศตะวันออก
ปาฐา ชื่อเมืองหนึ่งในมัธยมประเทศครั้งพุทธกาล
ภิกษุชาวเมืองนี้คณะหนึ่ง เป็นเหตุปรารภให้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการ
กรานกฐิน ; พระไตรปิฎกบางฉบับเขียนเป็น ปาวา
ปาฎลีบุตร เมืองหลวงของแคว้นมคธสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
ปาฏิเทศนีย "จะพึงแสดงคืน",
อาบัติที่จะพึงแสดงคืน เป็นชื่อลหุกาบัติ คือ อาบัติเบาอย่างหนึ่งถัดรองมาจากปาจิตตีย์
และ
เป็นชื่อสิกขาบท ๔ ข้อซึ่งแปลได้ว่า พึงปรับด้วยอาบัติปาฏิเทศนียะ เช่น ภิกษุรับของเคี้ยวของฉัน
จากมือของภิกษุรับของ
เคี้ยวของฉัน จากมือของภิกษุณีที่มิใช่ญาติ ด้วยมือของตน มาบริโภค ต้องอาบัติปาฏิเทศนียะ
ดู อาบัติ
ปาฏิบท วันขึ้นค่ำหนึ่ง
หรือวันแรมค่ำหนึ่ง แต่มักหมายถึงอย่างหลัง คือแรมค่ำหนึ่ง
ปาฏิบุคลิก ดู
ปาฏิปุคคลิก
ปาฏิปทิกะ
อาหารถวายในวันปาฏิบท
ปาฏิปุคคลิก เฉพาะบุคคล,
ไม่ทั่วไป, ถวายเป็นส่วนปาฏิปุคคลิก คือ ถวายเจาะจงบุคคลไม่ใช่ถวายแก่สงฆ์
ปาฏิโมกข์ ชื่อคัมภีร์ที่ประมวลพุทธบัญญัติอันทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณาได้แก่อาทิพรหมจรยกาสิกขา
มีพระพุทธานุญาต ให้
สวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน เรียกกันว่า พระสงฆ์ทำอุโบสถ, คัมภีร์ที่รวมวินัยของสงฆ์
๒๒๗ ข้อ (พจจนานุกรมเขียน
ปาติโมกข์)
ปาฏิโมกข์ย่อ มีพุทธานุญาตให้สวดปาฏิโมกข์ย่อได้
ในเมื่อมีเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งในเหตุ ๒ อย่าง คือ ๑. ไม่มีภิกษุ
จำปาฏิโมกข์ได้จนจบ (พึ่งสวดเท่าอุเทศที่จำได้) ๒. เกิดเหตุฉุกเฉินขัดข้องที่เรียกว่าอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งในอันตรายทั้ง
๑๐ (กำลังสวดอุเทศใดค้างอยู่เลิกอุเทศนั้นกลางคันได้ และพึ่งย่อตั้งแต่อุเทศนั้นไปด้วยสุตบท
คือ คำว่า "สุต" ที่ประกอบรูป
เป็น สุตา ตามไวยากรณ์ ทั้งนี้ยกเว้นนิทานุทเทสซึ่งต้องสวดให้จบ)
สมมติว่าสวดปาราชิกุทเทสจบแล้ว ถ้าสวดย่อตามแบบที่ท่านวางไว้จะได้ดังนี้ :
สุตา โข อายุสฺมนฺเตหิ เตรส สงฺฆาทิ
เสสา ธมฺมา, สุตา โข อายุสฺมนฺเตหิ เทฺว อนิยตา ธมฺมา, ฯเปฯ ลงท้ายว่า เอตฺตกํ
ตสฺส ภควโต ฯเปฯ สิกฺขิตพฺพํ
แบบที่วางไว้เดิมนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ไม่ทรงเห็นด้วยในบางประการและทรงมี
พระมติว่าควรสวดย่อดังนี้ (สวดปาราชิกุทเทสจบแล้ว สวดคำท้ายที่เดียว) : อุทฺทิฏฺฐํ
โข อายสฺมนฺโต นิทานํ, อุทฺทิฏฺฐา จตฺตา
โร ปาราชิกา ธมฺมา, สุตา เตรส สงฺฆาทิเสสา ธมฺมา, ฯเปฯ สุตา สตฺตาธิกรณสมถา
ธมฺมา, เอกตฺตกํ ฯเปฯ สิกฺขิตพฺพํ. ดู
อันตราย ๑๐