ปัญญาสมวาร - ปัตตานุโมทนามัย
ปัญญาสมวาร วันที่ ๕๐, วันที่ครอบ ๕๐
ปัญญาสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยปัญญา
คือ รู้จักบาป บุญ คุณ โทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ และเข้าใจชีวิตนี้ตามความ
เป็นจริง ที่จะไม่ให้ลุ่มหลงมักเมา (ข้อ ๔ ในธรรมที่เป็นไปเพื่อสัมปรายิกัตถะ
๔)
ปัญญาสิกขา สิกขา
คือ ปัญญา, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้เข้าใจเหตุผล
รอบรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์
และไม่เป็นประโยชน์ ตลอดจนรู้แจ้งสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ที่ถูกต้องเขียน
อธิปัญญาสิกขา
ปัญหา คำถาม,
ข้อสงสัย, ข้อติดขัดอัดอั้น, ข้อที่ต้องคิดต้องแก้ไข
ปัณฑกะ บัณเฑาะก์,
กะเทย
ปัณฑุกะ ชื่อภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในพวกภิกษุเหลวไหลทั้ง
๖ ที่เรียกว่า ฉัพพัคคีย์ (พระพวก ๖ ที่ชอบก่อเรื่องเสียหายทำให้พระ
พุทธเจ้าต้องทรงบัญญัติสิกขาบทหลายข้อ)
ปัณฑุปลาส ใบไม้เหลือง
(ใบไม้เก่า) ; คนเตรียมบวช, คนจะขอบวช
ปัณณเภสัช พืชมีใบเป็นยา,
ยาทำจากใบพืช เช่น ใบสะเดา ใบมูกมัน ใบกระดอม ใบกะเพรา เป็นต้น
ปัณณัตติวัชชะ
อาบัติที่เป็นโทษทางพระบัญญัติ คือคนสามัญทำเข้าไม่เป็นความผิดความเสีย เป็นผิดเฉพาะแก่ภิกษุ
โดยฐาน
ละเมิดพระบัญญํติ เช่น แนอาหารในเวลาวิกาล ขุดดินใช้จีวรที่ไม่ได้พินทุ นั่งนอนบนเตียงตั่งที่ไม่ได้ตรึงเท้าให้แน่นเป็นต้น
ปณามคาถา คาถาน้อมไหว้,
คาถาแสดงความเคารพพระรัตนตรัย เรียกกันง่ายๆ ว่า คาถาไหว้ครู ซึ่งตามปกติ
พระอาจารย์ผู้
แต่งคัมภีร์ภาษาบาลี เช่น อรรถกถา ฎีกา เป็นต้น ถือเป็นธรรมเนียมที่เรียบเรียงไว้เป็นเบื้องต้น
ก่อนขึ้นเนื้อความของคัมภีร์
นั้นๆ ประกอบด้วยคำสรรเสริคุณพระรัตนตรัย คำบอกความมุ่งหมายในการแต่ง คำอ้างถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อง
เช่น ผู้อาราธนา
ให้แต่ง และข้อควรทราบอื่นๆ เป็นอย่างคำนำ หรือคำปรารภ
ปัตตคาหาปกะ ภิกษุผู้ได้รับสมมติคือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้มีหน้าที่เป็นผู้แจกบาตร
ปัตตปิณฑิกังคะ
องค์แห่งผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร คือ ถือการฉันเฉพาะในบาตร ไม่ใช้ภาชนะอื่น
(ข้อ ๖ ในธุดงค์ ๑๓)
ปัตตวรรค หมวดอาบัติกำหนดด้วยบาตร,
ชื่อวรรคที่ ๓ แห่งนิสสัคคิยปาจิตตีย์
ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยนการอนุโมทนาส่วนบุญ,
ทำบุญด้วยการยินดีในการทำดีของผู้อื่น (ข้อ ๗ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐)