ปัญจมหาวิโลกนะ - ปัญญาวิมุตติ

ปัญจมหาวิโลกนะ
ดู มหาวิโลกนะ

ปัญจมหาสุบิน ดู มหาสุบิน

ปัญจวรรค สงฆ์พวกที่กำหนดจำนวน ๕ รูป จึงจะถือว่าครบองค์ เช่นที่ใช้ในการกรานกฐิน และการอุปสมบทในปัจจันต
ชนบท เป็นต้น

ปัญจวัคคีย์ พระพวก ๕ คือ อัญญาโกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานาม อัสสชิ เป็นพระอรหันตสาวกรุ่นแรกของพระพุทธ
เจ้า

ปัญจสติกขันธกะ ชื่อชันธกะที่ ๑๑ แห่งจุลวรรค วินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องการสังคายนาครั้งที่ ๑

ปัญจังคะ เก้าอี้มีพนักด้านเดียว, เก้าอี้ไม่มีแขน

ปัญจาละ ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีปครั้งพุทธกาลตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของแคว้นกุรุ มีแม่น้ำ
ภาคีรถีซึ่งเป็นแควหนึ่งของแม่น้ำคงคาตอนบนไหลผ่าน นครหลวงชื่อกัมปิลละ

ปัญญา ความรู้ทั่ว, ปรีชาหยั่งรู้เหตุผล, ความรู้เข้าใจชัดเจน, ความรู้เข้าใจหยั่งแยกได้ในเหตุผล ดีชั่ว คุณโทษ ประโยชน์มิใช่
ประโยชน์ เป็นต้น และรู้ที่จะจัดแจง จัดสรร จัดการ, ความรอบรู้ในกองสังขารมองเห็นตามเป็นจริง ดู ไตรสิกขา, สิกขา

ปัญญากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา (ข้อ ๘ ในกถาวัตถุ ๑๐)

ปัญญาขันธ์ กองปัญญา, หมวดธรรมว่าด้วยปัญญา เช่น ธรรมวิจยะ การเลือกเฟ้นธรรม กัมมัสสกตาญาณ ความรู้ว่าสัตว์มี
กรรมเป็นของตัวเป็นต้น (ข้อ ๓ ในธรรมขันธ์ ๕)

ปัญญาจักขุ, ปัญญาจักษุ จักษุคือปัญญา, ตาปัญญา ; เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสรู้พระอนุตตร
สัมมาสัมโพธิญาณด้วยปัญญาจักขุ (ข้อ ๓ ในจักขุ ๕)

ปัญญาภาวนา ดู ภาวนา

ปัญญาวิมุต "ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา" หมายถึง พระอรหันต์ผู้สำเร็จด้วยบำเพ็ญวิปัสสนาโดยมิได้อรูปสมาบัติมาก่อน

ปัญญาวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยปัญญา, ความหลุดพ้นที่บรรลุด้วยการกำจัดอวิชชาได้ ทำให้สำเร็จอรหัตตผลและทำให้เจโต
วิมุตติ เป็นเจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ คือ ไม่กลับกลายได้อีกต่อไป เทียบ เจโตวิมุตติ