ปัจฉิมทิส - ปัญจมหาบริจาค

ปัจฉิมทิส
ทิศเบื้องหลัง หมายถึง บุตรภรรยา ดู ทิศหก

ปัจฉิมโพธิกาล โพธิกาลช่วงหลัง, ระยะเวลาบำเพ็ญพุทธกิจตอนท้ายคือ ช่วงใกล้จนถึงปรินิพพาน กำหนดคร่าวๆ ตามมหา
ปรินิพพานสูตรตั้งแต่ปลงพระชนมายุสังขารถึงปรินิพพาน

ปัจฉิมภพ ภพหลัง, ภพสุดท้าย ดู ปัจฉิมชาติ

ปัจฉิมภวิกสัตว์ สัตว์ผู้เกิดในภพสุดท้าย, ท่านผู้เกิดในชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย คือผู้ที่ได้บรรลุอรหัตตผลในชาตินี้

ปัจฉิมยาม ยามสุดท้าย, ช่วงสุดท้ายแห่งราตรี เมื่อแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ส่วน

ปัจฉิมวัย วัยหลัง (มีอายุระยะ ๖๗ ปี ล่วงไปแล้ว) ดู วัย

ปัจฉิมวาจา ดู ปัจฉิมโอวาท

ปัจฉิมสักขิสาวก สาวกผู้เป็นพยานการตรัสรู้องค์สุดท้าย, สาวกที่ทันเห็นองค์สุดท้าย ได้แก่ พระสุภัททะ

ปัจฉิมโอวาท คำสอนครั้งสุดท้าย หมายถึง ปัฉิมวาจา คือ พระดำรัสสุดท้ายของพระพุทธเจ้าก่อนจะปรินิพพานว่า "วยธมฺมา
สงฺยารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ" แปลว่า "สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดาท่านทั้งหลายจง (ยังประโยชน์
ตนและประโยชน์ผู้อื่น) ให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาทเถิด"

ปัจฉิมิกา วันเข้าพรรษาหลัง ได้แก่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน๙ ; อีกนัยหนึ่งท่านสันนิษฐานว่า เป็นวันเข้าพรรษาในปีที่มีอธิกมาส
(เดือน ๘ สองหน) เทียบ ปุริมิกา

ปัจฉิมิกาวัสสูปนายิกา วันเข้าพรรษาหลัง ดู ปัจฉิมิกา

ปัญจกะ หมวด ๕

ปัญจกัชฌาน ฌานหมวด ๕ หมายถึง รูปฌานที่ตามปกติอย่างในพระสูตรแบ่งเป็น ๔ ขั้น แต่ในพระอภิธรรมนิยมแบ่งซอย
ละเอียดออกไปเป็น ๕ ขั้น (ท่านว่าที่แบ่ง ๕ นี้ เป็นการแบ่งในกรณีที่ผู้เจริญฌานมีญาณไม่แก่กล้าจึงละวิตกและวิจารได้ทีละ
องค์) ดู ฌาน ๕

ปัญจขันธ์ ขันธ์ห้า คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์

ปัญจพิธกามคุณ กามคุณ ๕ อย่าง คือ รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะที่น่ารักใคร่น่าชอบใจ

ปัญจพิธพันธนะ เครื่องตรึง ๕ อย่างคือ ตรึงเหล็กอันร้อนที่มือทั้ง ๒ ข้างที่เท้าทั้ง ๒ ข้าง และที่กลางอก ซึ่งเป็นการลงโทษที่
นายนิรยบาลกระทำต่อสัตว์นรก

ปัญจเภสัช เภสัชทั้ง ๕ คือ เนยใส, เนยข้น, น้ำมัน, น้ำผึ้ง, น้ำอ้อย

ปัญจมฌาน ฌานที่ ๕ ตามแบบที่นิยมในอภิธรรม ตรงกับฌานที่ ๔ แบบ ทั่วไป หรือแบบพระสูตร มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา
และเอกัคคตา ดู ฌาน ๕

ปัญจมหาบริจาค ดู มหาบริจาค