ปกฺขหตตา - ปัจจัย
ปกฺขหตตา ความเป็นผู้ชาไปซีกหนึ่ง ได้แก่โรคอัมพาต
ปักขคณนา, ปักษคณนา "การนับปักษ์".
วิธีคำนวณดิถีตามปักษ์ คือ คำนวณหาวันขึ้นแรกกี่ค่ำๆ ให้แม่นยำตรงตามการโคจร
ของดวงจันทร์อย่างแท้จริง เฉพาะอย่างยิ่งมุ่งให้ได้วันพระจันทร์เต็มดวงหรือวันเพ็ญ
(ขึ้น ๑๔ - ๑๕ ค่ำ) วันพระจันทร์ดับ
หรือวันดับ (แรม ๑๔ - ๑๕ ค่ำ) และวันพระจันทร์กึ่งดวง (ขึ้น ๘ ค่ำ และ แรม
๘ คำ) ตรงกับวันที่ดวงจันทร์เป็นอย่างนั้น
จริงๆ ซึ่งบางเดือนข้างขึ้นอาจมีเพียง ๑๔ วัน (วันเพ็ญ เมื่อขึ้น ๑๔ ค่ำ)
ก็มีข้างแรมอาจมีเต็ม ๑๕ วันติดต่อกันหลายเดือนก็มี
ต้องตรวจดูเป็นปักษ์ๆ ไป จึงใช้คำปักษ์ถ้วน ปักษ์ขาดไม่ใช่เพียงเดือนเต็ม
เดือนขาด เป็นวิธีคำนวณที่สลับซับซ้อน ต่างจาก
ปฏิทินหลวง หรือปฏิทินของราชการที่ใช้วิธีคำนวณเฉลี่ยให้ข้างขึ้นเต็ม ๑๕ วันเสมอไป
ส่วนข้างแรม เดือนคู่มี ๑๕ วัน
เดือนคี่เรียกว่าเดือนขาดมี +๔ วัน เดือนคี่เรียกว่าเดือนขาดมี ๑๔ วัน สลับกันไป
(แม้จะคำนวณด้วยวิธีที่พิเศษออกไป แต่วัน
เดือนเพ็ญเดือนดับที่ตรงกันก็มาก ที่คลาดกันก็เพียงวันเดียว) ; ปักขคณนา นี้
พระบาทสมเด็จพระจาอมเกล้าฯ ทรงค้นคิดวิธี
คำนวณขึ้นใช้ในพระสงฆ์คณะธรรมยุต เพื่อเป็นเครื่องกำหนดวันสำหรับพระสงฆ์ทำอุโบสถ
และสำหรับอุบาสกอุบาสิกา
รักษาอุโบสถศีลฟังธรรมเป็นข้อปฏิบัติขอคณะธรรมยุตสืบมา
ปักขันทิกาพาธ
โรคท้องร่วง พระสารีบุตรนิพพานด้วยโรคนี้
ปักขิกะ อาหารที่เขาถวายปักษ์ละครั้ง
คือ สิบห้าวันครั้งหนึ่ง
ปักขิกภัต ดู ปักขิกะ
ปักษ์ ปีก,
ฝ่าย, ข้าง, กึ่งของเดือนทางจันทรคติ คือเดือนหนึ่งมี ๒ ปักษ์ ข้างขึ้นเรียก
ศุกลปักษ์ (ฝ่ายขาวหมายเอาแสงเดือน
สว่าง) ข้างแรมเรียก กาฬปักษ์ (ฝ่ายดำ หมายเอาเดือนมืด) ; ชุณหปักษ์
และกัณหปักษ์ก็เรียก
ปัคคหะ การยกย่อง
(พจนฯ = ปัคหะ)
ปังสุกูลิกังคะ
องค์แห่งผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, ใช้เฉพาะแต่ผ้าบังสุกุล คือ ไม่รับจีวรจากทายก
เที่ยวแสวงหาผ้าบังสุกุลมา
เย็บย้อมทำจีวรเอง
ปัจจยาการ อาการที่เป็นปัจจัยแก่กัน
ได้แก่ ปฏิจจสมุปบาท
ปัจจเวรขณญาณ
ญาณที่พิจารณาทบทวน, ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวนตรวจตรามรรคผล กิเลสที่ยังเหลืออยู่
และ
นิพพาน (เว้นพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่) ; ญาณนี้เกิดแก่ผู้บรรลุมรรคผลแล้ว
คือ ภายหลังจากผลญาณ
; ดู ญาณ ๑๖
ปัจจัตตลักษณะ ลักษณะเฉพาะตน,
ลักษณะเฉพาะของสิ่งต่างๆ เช่น เวทนา มีลักษณะเสวยอารมณ์ สัญญามีลักษณะจำได้
เป็นต้น, คู่กับ สามัญลักษณะ
ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ
พระธรรมอันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ผู้อื่นไม่พลอยตามรู้ตามเห็นด้วย
เหมือนรสอาหาร ผู้บริโภค
เท่านั้นจึงจะรู้รสผู้ไม่ได้บริโภคจะพลอยรู้รสด้วยไม่ได้
ปัจจัตถรณะ ผ้าปูนอน,
บรรจถรณ์ก็ใช้
ปัจจันตชนบท เมืองชายแดนนอก
มัชฌิมชนบท ออกไป
ปัจจันตประเทศ
ประเทศปลายแดน, ประเทศชายแดน, หัวเมืองชั้นนอก, ถิ่นที่ยังไม่เจริญ คือ นอกมัธยมประเทศ
หรือ มัช
ฌิมชนบท
ปัจจัย 1. เหตุที่ให้ผลเป็นไป,
เหตุ, เครื่องหนุนให้เกิด 2. ของสำหรับอาศัยใช้, เครื่องอาศัยของชีวิต,
สิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต มี
๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ
(ที่อยู่อาศัย) คิลานเภสัช (ยาบำบัดโรค)