ประโยค - ปรามาส๒
ประโยค การประกอบ, การกระทำ ,การพยายาม
ประโยชน์ (เกิดแต่การถือเอาโภคทรัพย์)
๕ ดู โภคอาทิยะ ๕
ประลัย ความตาย,
ความย่อยยับ, ความป่นปี้
ประวัติ ความเป็นไป,
เรื่องราว
ประศาสนวิธี วิธีการปกครอง,ระเบียบแห่งการปกครองหมู่คณะ
ประสก เป็นคำเลือนมาจาก
อุบาสกพระสงฆ์ครั้งก่อนมักใช้เรียกคฤหัสถ์ผู้ชาย คู่กับ สีกา แต่บัดนี้ได้ยินใช้น้อย
ประสาท ๑.
เครื่องนำความรู้สึกสำหรับคนและสัตว์ เรียกประสาทรูปก็ได้ ๒. ความเลื่อมใส
ดู ปสาท ๓. ยินดีให้,โปรดให้
ประสาทรูป รูปคือประสาท
ประสาธน์ ทำให้สำเร็จ,
เครื่องประดับ
ประสิทธิ์ ความสำเร็จ,
ทำให้สำเร็จ, ให้
ประสิทธิ์พร ให้พร,
ทำพรให้สำเร็จ
ประสูติ เกิด,
การเกิด, การคลอด
ประเสริฐ ดีที่สุด
, ดีเลิศ, วิเศษ,
ประหาน ละ, กำจัด;
การละ, การกำจัด; ตามหลักภาษาควรเขียน ปทาน หรือ ประหาณ
ประหาร การตี,
การทุบตี,การฟัน, การล้างผลาญ; ฆ่า, ทำลาย
ประหาร การตี,
การทุบตี, การฟัน, การล้างผลาญ; ฆ่า, ทำลาย
ปรัตถปฏิบัติ การปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
เป็นพุทธคุณอย่างหนึ่ง คือ การทรงบำเพ็ญพุทธกิจเพื่อประโยชน์แก่
สัตว์ทั้งหลาย เป็นที่พึ่งของชาวโลก (โลกนาถ) ซึ่งสำเร็จด้วยพระมหากรุณาคุณเป็นสำคัญ
มักเขียนเป็นปรหิตปฎิบัติ
ซึ่งแปลเหมือนกัน ; เป็นคู่กันกับ อัตตัตถสมบัติ หรือ อัตตหิตสมบัติ
ปรัตถะ ประโยชน์ผู้อื่น,
ประโยชน์เพื่อคนอื่น อันพึงบำเพ็ญด้วยการช่วยให้เขาเป็นอยู่ด้วยดี พึ่งตนเองได้
ไม่ว่าจะเป็น
ทิฏฐธัมมิกัตถะหรือสัมปรายิกัตถะ หรือปรมัตถะก็ตาม; เทียบ อัตตัตถะ
ปรัปวาท (ปะรับประวาด)
คำกล่าวของคนพวกอื่นหรือลัทธิอื่น, คำกล่าวโทษคัดค้านโต้แย้งของคนพวกอื่น,
หลักการ
ของฝ่ายอื่น, ลักทธิภายนอก
ปรัมปรโภชน์ โภชนะทีหลัง
คือ ภิกษุรักนิมนต์ในที่แห่งหนึ่งด้วยโภชนะทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วไม่ปไฉันในที่
นิมนต์นั้น ไปฉันเสียในที่อื่นที่เขานิมนต์ทีหลังซึ่งพ้องเวลากัน
ปราการ กำแพง,
เครื่องล้อมกั้น
ปราชญ์ ผู้รู้,
ผู้มีปัญญา
ปรามาส๑
(ปฺรามาด) ดูถูก, ดูหมิ่น
ปรามาส๒
(ปะรามาด) การจับต้อง, การยึดฉวย, การจัดไว้มั่น, การลูบหรือเสียดสีไปมา,
ความยึดมั่น; มักแปลกันว่า การลูบคลำ