ปฏิสนธิจิตต์ - ปฐพี

ปฏิสนธิจิตต์
จิตที่สืบต่อภพใหม่, จิตที่เกิดที่แรกในภพใหม่

ปฏิสสวะ การฝืนคำรับ, รับแล้วไม่ทำตามรับ เช่น รับนิมนต์ว่าจะไปแล้วหาไปไม่ (พจนานุกรม เขียน ปฏิสวะ)

ปฏิสังขรณ์ ซ่อมแซมทำให้กลับดีเหมือนเดิม

ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง, ปรีชาคำนึงพิจารณาสังขาร เพื่อหาทางเป็นเครื่องพ้นไปเสีย ดู
วิปัสสนาญาณ

ปฏิสันถาร การทักทายปราศรัย, การต้อนรับแขก มี ๒ อย่างคือ ๑. อามิสปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยสิ่งของ ๒. ธรรม
ปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยธรรมคือ กล่าวแนะนำในทางธรรม อีกนัยหนึ่งว่า ต้อนรับโดยธรรม คือ การต้อนรับที่ทำพอดี
สมควรแก่ฐานะของแขก มีการลุกรับเป็นต้น หรือช่วยเหลือสังเคราะห์ขจัดปัญหาติดขัดทำกุศลกิจให้ลุล่วง

ปฏิสันถารคารวตา ดู คารวะ

ปฏิสัมภิทา ความแตกฉาน, ความรู้แตกฉาน, ปัญญาแตกฉาน มี ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ ๒.
ธัมมปฏิสัมภิทา
ปัญญาแตกฉานในธรรม ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ คือ ภาษา ๔. ปฏิภาณ
ปฏิสัมภิทา
ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ

ปฏิสัมภิทมามรรค ทางแห่งปฏิบัติสัมภิทา, ข้อปฏิบัติที่ทำให้มีความแตกฉาน; ชื่อคัมภีร์หนึ่งแห่งขุททกนิกาย ในพระ
สุตตันตปิฎก เป็นภาษิตของพระสารีบุตร

ปฏิสารณียกรรม กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงให้กลับไป หมายถึงการที่สงฆ์ลงโทษให้ภิกษุไปขอขมาคฤหัสถ์
กรรมนี้สงฆ์ทำแก่ภิกษุปากกล้า ด่าว่าคฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธเป็นทายกอุปฐากสงฆ์ด้วยปัจจัย ๔ เป็น
ทางจะยังคนผู้ยังไม่เสื่อมใสมิให้เลื่อมใส จะยังคนผู้เลื่อมในอยู่แล้วให้เป็นอย่างอื่นไปเสีย; ปฏิสาราณียกรรม ก็เขียน

ปฏิเสธ การห้าม, การไม่รับ, การไม่ยอมรับ, การกีดกั้น

ปฐพี แผ่นดิน