ปฏิจฉันนปริวาส - ปฏิปักขนัย
ปฏิจฉันนปริวาส ปริวาสเพื่อครุกาบัติที่ปิดไว้, ปริวาสที่ภิกษุผู้ปรารถนาจะออกจากอาบัติสังฆาทิเสสอยู่ใช้เพื่ออาบัติที่
ปิดไว้ ซึ่งนับวันได้เป็นจำนวนเดียว
ปฏิจฉันนาบัติ
อาบัติ (สังฆาทิเสส) ที่ภิกษุต้องแล้วปิดได้
ปริญญา ให้คำมั่น,
แสดงความยืนยัน, ให้การยอมรับ
ปฏิญญาตกรณะ ทำตามรับ
ได้แก่ปรับอาบัติตามปฏิญญาของจำเลยผู้รับเป็นสัตย์ การแสดงอาบัติก็จัดเข้าในข้อนี้
ปฏิญาณ การให้คำมั่นโดยสุจริตใจ,
การยืนยัน
ปฏิบัติ ประพฤติ,
การทำ; บำรุง, เลี้ยงดู
ปฏิบัติบูชา การบูชาด้วยการปฏิบัติคือ
ประพฤติตามธรรมคำสั่งสอนของท่าน ,บูชาด้วยการประพฤติปฏิบัติกระทำสิ่งที่
ดีงาม (ข้อ๒ ในบูชา ๒)
ปฏิบัติสัทธรรม ดู
สัทธรรม
ปฏิปทา ทางดำเนิน,
ความประพฤติ, ข้อปฏิบัติ
ปฏิปทา ๔ การปฏิบัติของท่านผู้ได้บรรลุธรรมพิเศษ
มี ๔ ประเภท คือ ๑. ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติลำบาก
ทั้งรู้ได้ช้า ๒. ทุกฺขา ปฏิปทา ขปฺปาภิญฺญา ปฏิบัติยาก แต่รู้ได้เร็ว
๓. สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้
ช้า ๔. สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติได้แก่ปัสสนาญาณ
๙ ข้อ (ข้อ ๖ ในวิสุทธิ ๗)
ปฏิปทานุตตริย การปฏิบัติอันยอดเยี่ยม
ได้แก่การปฏิบัติธรรมที่ได้เห็นแล้วในข้อทัสสนานุตตริยะ ทั้งส่วนที่จะพึงละ
และพึงบำเพ็ญ ดู อนุตตริยะ
ปฏิปักข์, ปฏิปักษ์ ฝ่ายตรงกันข้าม,
คู่ปรับ, ข้าศึก, ศัตรู
ปฏิปักขนัย นัยตรงกันข้าม