จำนำพรรษา - จิตตะ

จำนำพรรษา ดู ผ้าจำนำพรรษา

จำเนียรกาล เวลาช้านาน

จำปา ชื่อเมืองในมัธยมประเทศ ที่ถูกเขียน จัมปา

จำพรรษา อยู่ประจำวัดสามเดือนในฤดูฝน คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (อย่างนี้เรียกปุริม
พรรษา แปลว่า พรรษาต้น) หรือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๙ ถึงขึ้น ๑๕ เดือน ๑๒ (อย่างนี้เรียก ปัจฉิมพรรษา แปลว่า
พรรษาหลัง) ; วันเข้าพรรษาต้นคือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ เรียกว่า ปุริมิกา วัสสูปนายิกา, วันเข้าพรรษาหลังคือ แรม ๑ ค่ำ
เดือน ๙ เรียกว่าปัจฉิมิกา วัสสูปนายิกา; คำอธิษฐานพรรษาว่า อิมสฺมึ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ; ทุติยมฺปิ อิมสฺ
มึ....; ตติยมฺปี อิมสฺมึ....แปลว่า ข้าพเจ้าเข้าอยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือนในวัดนี้ (วิหาเร จะเปลี่ยนเป็น อาวาเส ก็ได้) ;
อานิสงส์การจำพรรษามี ๕ อย่าง คือ ๑. เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา ๒. จาริกไปไม่ต้องเอาไตรจีวรไปครบสำรับ ๓.
ฉันคณโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้ ๔. เก็บอดิเรกจีวรได้ตามปรารถนา ๕.จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้น เป็นของได้แก่พวก
เธอ อานิสงส์ทั้งห้านี้ได้ชั่วเวลาเดือนหนึ่ง นับแต่ออกพรรษาแล้ว คือ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ นอกจากนั้นยังได้สิทธิที่
จะกรานกฐิน และได้รับอานิสงส์ ๕ นั้น ต่อออกไปอีก ๔ เดือน (ภิกษุผู้เข้าพรรษาหลัง ไม่ได้อานิสงส์หรือสิทธิพิเศษ
เหล่านี้)

จำวัด นอนหลับ (สำหรับพระสงฆ์)

จำศีล อยู่รักษาศีล, ถือศีลเป็นกิจวัตร

จำหลัก แกะให้เป็นลวดลาย, สลัก

จิต ธรรมชาติที่รู้อารมณ์, สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ; ตามหลักฝ่ายอภิธรรมจำแนกจิตเป็น ๘๙ (หรือพิสดารเป็น
๑๒๑) แบ่ง โดยชาติ เป็นอกุศลจิต ๑๒ กุศลจิต ๒๑ (พิสดารเป็น ๓๗) วิปากจิต ๓๖ (๕๒) และกิริยาจิต ๒๐; แบ่ง
โดยภูมิ เป็นกามาวจรจิต ๕๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ และโลกุตรจิต ๘ (พิสดารเป็น ๔๐)

จิตกาธาน เชิงตะกอน, ที่เผาศพ

จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ, ความคิดฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจฟุ้งซ่านเลื่อนลอย (ข้อ ๓ ในอิทธิบาท ๔)