ครุกกรรม - ควัมปติ
ครุกกรรม ดู
ครุกรรม
ครุกรรม กรรมหนักทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล
ในฝ่ายกุศลได้แก่ฌานสมาบัติ ในฝ่ายอกุศลได้แก่อนันตริยกรรม กรรมนี้
ให้ผลก่อนกรรมอื่นเหมือนคนอยู่บนที่สูงเอาวัตถุต่าง ๆ ทิ้งลงมาอย่างไหนหนักที่สุด
อย่างนั่นถึงพื้นก่อน
ครุกาบัติ อาบัติหนัก
ได้แก่อาบัติปาราชิก เป็นอาบัติที่แก้ไขไม่ได้ ภิกษุต้องแล้วจำต้องสึกเสีย
และอาบัติสังฆาทิเสส
อยู่กรรมจึงจะพ้นได้
ครุธรรม ธรรมอันหนัก,
หลักความประพฤติสำหรับนางภิกษุณีจะพึงถือเป็นเรื่องสำคัญอันต้องปฏิบัติด้วยความ
เคารพไม่ละเมิดตลอดชีวิต มี ๘ ประการ คือ ๑. ภิกษุณีแม้บวชร้อยพรรษาแล้วก็ต้องกราบไหว้ภิกษุแม้บวชวันเดียว
๒. ภิกษุณีจะอยู่ในวัดที่ไม่มีภิกษุไม่ได้ ๓. ภิกษุณีต้องไปถามวันอุโบสถและเข้าไปฟังโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือน
๔.
ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้วต้องปวารณาในสงฆ์สองฝ่ายโดยสถานทั้ง ๓ คือ โดยได้เห็น
โดยได้ยิน โดยรังเกียจ (รังเกียจ
หมายถึง ระแวงสงสัยหรือเห็นพฤติกรรมอะไรที่น่าเคลือบแคลง) ๕. ภิกษุณีต้องอาบัติหนัก
ต้องประพฤติมานัตใน
สงฆ์สองฝ่าย (คือ ทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์) ๑๕ วัน ๖. ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์สองฝ่าย
เพื่อนาง
สิกขมานา ๗. ภิกษุณีไม่พึงด่าไม่พึงบริภาษภิกษุไม่ว่าจะโดยปริยายใดๆ ๘. ไม่ให้ภิกษุณีว่ากล่าวภิกษุ
แต่ภิกษุว่า
กล่าวภิกษุณีได้
ครุภัณฑ์ ของหนัก
เช่น กุฎี ที่ดิน เตียง ตั่ง เป็นต้น (คู่กับ ลหุภัณฑ์)
ครูทั้ง ๖ ดู ติตถกร
คฤหบดี ผู้เป็นใหญ่ในเรือน,
พ่อเจ้าเรือน, ผู้มั่งคั่ง
คฤหบดีจีวร ผ้าจีวรที่ชาวบ้านถวายพระ
คฤหัสถ์ ผู้ครองเรือน,
ชาวบ้าน
คลองธรรม ทางธรรม
ควรทำความไม่ประมาท
ในที่ ๔ สถาน ดู อัปปมาท
ความปรารถนา
ของบุคคลในโลกที่ได้สมหมายด้วยยาก ๔ อย่าง ดู ทุลลภธรรม
ควัมปติ ชื่อกุลบุตรผู้เป็นสหายของพระยสะ
เป็นบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสีได้ทราบข่าวว่ายสกุลบุตรออกบวชจึงบวช
ตามพร้อมด้วยสหายอีกสามคน คือ วิมล สุพาหุ ปุณณชิ ต่อมาได้สำเร็จพระอรหัตทั้งหมด