เอกพีชี - เอกอุ
เอกพีชี ผู้มีพืชคืออัตภาพอันเดียว
หมายถึง พระโสดาบันซึ่งจะเกิดอีกครั้งเดียวก็จะบรรลุพระอรหัตตผลในภพที่เกิด
ขึ้น (ข้อ ๑ ในโสดาบัน ๓, บางแห่งท่านจัดกลับเป็นข้อ ๓)
เอกภัณฑะ ทรัพย์สิ่งเดียวซึ่งมีราคาเพียงพอที่จะเป็นวัตถุแห่งปาราชิก
เอกวจนะ คำกล่าวถึงสิ่งของสิ่งเดียว
เอกสิทธิ สิทธิพิเศษ,
สิทธิโดยเฉพาะ
เอกเสสนัย อาการกำหนดด้วยเหลือศัพท์เดียว,
เป็นวิธีการอย่างหนึ่งในไวยากรณ์บาลี กล่าวคือ บุคคล วัตถุ หรือภาวะ
บางอย่าง เป็นของควบคู่กันมาด้วยกันเสมอ เมื่อเห็นอย่างหนึ่งก็เป็นอันรู้ถึงอีกอย่างหนึ่งด้วย
หรือเป็นของชุดเดียงกัน
จำพวกเดียวกัน เมื่อเรียกชื่ออย่างหนึ่ง จะหมายถึงอย่างหนึ่งอย่างใดในชุดหรือในจำพวกนั้นก็ได้
ในกรณีเช่นนี้ บางที
ท่านกล่าวถึงหรือออกชื่อไว้อย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอันเดียวให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังหมายรู้อีกอย่างหนึ่งด้วย
หรือให้เข้า
ใจเอาเองจากข้อความแวดล้อมว่า ในที่นั้น หมายถึงอย่างไหนข้อใดในชุดหรือในจำพวกนั้น
จึงเรียกว่า เหลือไว้อย่าง
เดียว หรือเหลือไว้ศัพท์เดียว เช่น พูดอย่างคำบาลีว่า พระสารีบุตรทั้งหลาย
ก็หมายถึงพระสารีบุตรและพระมหาโมค-
คัลลานะหรือในหลักปฏิจจสมุปบาท คำว่านามรูป เป็นเอกเสสหมายถึง นามหรือรูป
หรือทั้งนามและรูป คำว่า สฬาย-
ตนะ ก็เป็นเอกเสส หมายถึงอายตนะที่ ๖ ก็ได้ อายตนะทั้ง ๖ ก็ได้ ดังนั้น เมื่อพูดว่านามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ
ถ้าหมายถึงอรูปภพก็ต้องแปลความว่า นามเป็นปัจจัยให้เกิดอายตนะที่ ๖ (คือมโน)
อนึ่ง เมื่อสิ่งอื่นในชุดเดียวกัน มีคำ
เฉพาะระบุชัดอยู่แล้ว คำที่เป็นชื่อรวม ๆ ของชุด ก็ย่อมหมายถึงสิ่งที่ยังไม่ถูกระบุด้วยคำอื่น
เช่น ในคำว่า สุคติ (และ)
โลกสวรรค์ สวรรค์ก็เป็นสุคติ แต่มีคำเฉพาะระบุไว้แล้ว ดังนั้น คำว่าสุคติในกรณีนี้จึงหมายถึง
โลกมนุษย์ ซึ่งเป็นสุคติ
อย่างเดียวที่เหลือนอกจากสวรรค์
เอกอุ เลิศ, สูงสุด
(ตัดมาจากคำว่าเอกอุดม)