อุปจารภาวนา - อุปปถกิริยา
อุปจารภาวนา
ภาวนาขั้นจวนเจียน คือเจริญกรรมฐานถึงขั้นเกิดอุปจารสมาธิ (ข้อ ๒ ในภาวนา
๓)
อุปจารสมาธิ สมาธิจวนจะแน่วแน่,
สมาธิที่ยังไม่ดิ่งถึงที่สุด เป็นขั้นทำให้กิเลส มีนิวรณ์เป็นต้นระงับ ก่อนจะเป็น
อัปปนา คือถึงฌาน (ข้อ ๑ ในสมาธิ ๒, ข้อ ๒ ในสมาธิ ๓)
อุปจารแห่งสงฆ์
บริเวณรอบ ๆ เขตสงฆ์ชุมนุมกัน
อุปฐาก ดู ปัฏฐาก
อุปติสสะ ดู
สารีบุตร
อุปติสสปริพาชก
คำเรียกพระสารีบุตรเมื่อบวชเป็นปริพาชกอยู่ในสำนักของสญชัญ
อุปถัมภ์ การค้ำจุน,
เครื่องค้ำจุน, อุดหนุน, ช่วยเหลือ, หล่อเลี้ยง
อุปธิ สิ่งนุงนัง,
สภาวะกลั้วกิเลส, สิ่งที่ยังระคนด้วยกิเลส 1. ร่างกาย 2. สภาวะอันเป็นที่ตั้งที่ทรงไว้แห่งทุกข์ได้แก่
กาม กิเลส เบญจขันธ์ และอภิสังขาร
อุปนาหะ ผูกโกรธไว้,
ผูกใจเจ็บ (ข้อ ๔ ในอุปกิเลส ๑๖)
อุปนิสัย ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาในสันดาน,
ความดีที่เป็นทุนหรือเป็นพื้นอยู่ในจิต, ธรรมที่เป็นเครื่อง
อุดหนุน
อุปนิสินนกถา ถ้อยคำของผู้เข้าไปนั่งใกล้,
การนั่งคุยหรือสนทนาอย่างกันเองหรือไม่เป็นแบบแผนพิธี เพื่อตอบคำ
ซักถาม แนะนำชี้แจง ให้คำปรึกษา เป็นต้น
อุปบารมี บารมีขั้นรอง,
บารมีขั้นจวนสูงสุด คือ บารมีที่บำเพ็ญยิ่งกว่าบารมีตามปกติ แต่ยังไม่ถึงที่สุดที่จะเป็นปรมัตถ
บารมี สละทรัพย์ภายนอกเป็นทานบารมี สละอวัยวะเป็นทานอุปบารมี สละชีวิตเป็นทานปรมัตถบารมี;
ดู บารมี
อุปปถกิริยา
การทำนอกรีตนอกรอยของสมณะ, ความประพฤตินอกแบบแผนของภิกษุสามเณร ท่านจัดรวมไว้เป็น
๓
ประเภท คือ ๑. อนาจาร ประพฤติไม่ดีไม่งาม และเล่นไม่เหมาะสมต่าง ๆ
๒. ปาปสมาจาร ความประพฤติเลวทราม
คือ คบหาคฤหัสถ์ในทางที่ไม่สมควร ทำตนเป็นกุลทูสก ๓. อเนสนา หาเลี้ยงชีพในทางที่ไม่สมควร
เช่น เป็นหมอ
เสกเป่าให้หวย เป็นต้น