อิทธิวิธิ - อินทรีย์
อิทธิวิธิ
แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ เช่น นิรมิตกายคนเดียวเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว ล่องหน
ดำดิน เดินน้ำ เป็นต้น
(ข้อ ๑ ในอภิญญา ๖, ข้อ ๓ ในวิชชา ๘)
อิทัปปัจจยตา ภาวะที่มีอันนี้ๆ
เป็นปัจจัย, ความเป็นไปตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย, กระบวนธรรมแห่งเหตุ
ปัจจัย, กฎที่ว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี, เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น;
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี, เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้
ก็ดับ, เป็นอีกชื่อหนึ่งของหลัก ปฏิจจสมุปบาท หรือ ปัจจยาการ
อินเดีย ชื่อประเทศ
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย ถัดจากประเทศพม่าออกไป มีเมืองหลวงชื่อ
นิวเดลี (New Delhi) อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๓,๑๐๐ กิโลเมตร อินเดียมีเนื้อที่ทั้งหมด
๓,๒๘๗,๕๙๐ ตาราง
กิโลเมตร มีพลเมืองใน พ.ศ. ๒๕๒๔ ประมาณ ๖๘๓ ล้านคน ครั้งโบราณเรียกชมพูทวีป
เป็นประเทศที่เกิดพระพุทธ
ศาสนา พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๒,๐๐๐
กิโลเมตร
อินทปัตถ์ ชื่อนครหลวงของแคว้นกุรุ
แคว้นกุรุอยู่ ณ บริเวณลุ่มน้ำยมุนาตอนบน ราวมณฑลปัญจาบลงมา เมืองอิน-
ทปัตถ์อยู่ ณ บริเวณเมืองเดลี นครหลวงของอินเดียปัจจุบัน
อินทร์ ผู้เป็นใหญ่,ชื่อเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
และจาตุมหาราช; ในบาลี นิยมเรียกว่า ท้าวสักกะ; ดู
วัตรบท ๗
อินทริยปโรปริยัตตญาณ
ปรีชาหยั่งรู้ความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือรู้ว่า สัตว์พวกไหนมีอินทรีย์
คือสัทธาเป็นต้นอ่อน พวกไหนมีอินทรีย์แก่กล้า พวกไหนมีจริตมีอัธยาศัย เป็นต้น
อย่างไรๆ พวกไหนสอนยาก พวก
ไหนสอนง่าย ดังนี้เป็นต้น (ข้อ ๖ ในทศพลญาณ)
อินทรีย์ความเป็นใหญ่,
สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน, ธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่อย่างหนึ่ง ๆ
เช่น ตาเป็น
ใหญ่หรือเป็นเจ้าในการเห็น หูเป็นใหญ่ในการได้ยิน ศรัทธาเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธาเป็นต้น
1. อินทรีย์ ๖ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก
ลิ้น กาย ใจ 2. อินทรีย์ ๕ ตรงกับ พละ ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ
สมาธิ ปัญญา ธรรม ๕ อย่างชุดเดียวกันนี้ เรียกชื่อต่างกันไป ๒ อย่าง ตามหน้าที่ที่ทำ
คือ เรียกชื่อว่า พละ โดยความ
หมายว่า เป็นกำลังทำให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคง ซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่างจะเข้าครอบงำไม่ได้เรียกชื่อว่า
อินทรีย์
โดยความหมายว่าเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่างคือความไร้ศรัทธา
ความเกียจคร้าน
ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงงมงาย ตามลำดับ