อาหาเรปฏิกูลสัญญา - อิทธิปาฏิหาริย์
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
กำหนดหมายความเป็นปฏิกูลในอาหาร, ความสำคัญหมายในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล
พิจารณา
ให้เห็นว่าเป็นของน่าเกลียดโดยอาการต่างๆ เช่น ปฏิกูล โดยบริโภค, โดยประเทศที่อยู่ของอาหาร,
โดยสั่งสมอยู่นาน
เป็นต้น (ข้อ ๓๕ ในกรรมฐาน ๔๐)
อาหุดี การเซ่นสรวง
อาหุเนยฺโย พระสงฆ์เป็นผู้ควรได้ของคำนับ
คือ เครื่องสักการะที่เขานำมาถวายในโอกาสต่างๆ (ข้อ ๕ ในสังฆคุณ ๙)
อาฬกะ ชื่อแคว้นหนึ่ง
ตั้งอยู่ที่ลุ่มน้ำโคธาวรี ตรงข้ามกับแคว้นอัสสกะ
อาฬารดาบส อาจารย์ผู้สอนสมาบัติที่พระมหาบุรุษเสด็จไปศึกษาอยู่ด้วยคราวหนึ่ง
ก่อนที่จะทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา,
ท่านผู้นี้ได้สมาบัติถึงชั้นอากิญจัญญายตนฌาน, เรียกเต็มว่าอาฬารดาบส กาลามโคตร
อำมาตย์ ดู
อมาตย์
อิจฉา ความปรารถนา,
ความอยากได้; ไทยมักใช้ในความหมายว่าริษยา
อิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่น่าปรารถนา,
สิ่งที่คนอยากได้อยากพบ แสดงในแง่ กามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ ที่น่ารักใคร่ น่าชอบใจ แสดงในแง่โลกธรรม ได้แก่ ลาภยศ สรรเสริญ
และความสุข เทียบ อนิฏฐารมณ์
อิตถีภาวะ
ความเป็นหญิง, สภาวะที่ทำให้ปรากฏลักษณะอาการต่างๆ อันแสดงถึงความเป็นเพศหญิง
เป็นภาวรูป
อย่างหนึ่ง คู่กับ ปุริสภาวะ ดู อุปาทายรูป
อิทธาภิสังขาร
การปรุงแต่งฤทธิ์ขึ้นทันใด, การบันดาลด้วยฤทธิ์
อิทธิ ความสำเร็จ,
ความรุ่งเรืองงอกงาม, อำนาจที่จะทำอะไรได้อย่างวิเศษ; อิทธิ ๒ ดู ฤทธิ์
๒
อิทธิบาท คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ,
คุณเครื่องสำเร็จสมประสงค์, ทางแห่งความสำเร็จมี ๔ คือ ๑. ฉันทะ ความพอ
ใจรักใคร่ในสิ่งนั้น ๒. วิริยะ ความพยายามทำสิ่งนั้น ๓. จิตตะ
ความเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ๔. วิมังสา ความพิจารณา
ใคร่ครวญหาเหตุผลในสิ่งนั้น, จำง่าย ๆ ว่า มีใจรัก พากเพียรทำ เอาจิตฝักใฝ่
ใช้ปัญญาสอบสวน
อิทธิบาทภาวนา
การเจริญอิทธิบาท, การฝึกฝนปฏิบัติให้อิทธิบาทเกิดมีขึ้น
อิทธิปาฏิหาริย์
ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์, แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์ เช่น ล่องหน ดำดิน เหาะได้
เป็นต้น (ข้อ ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓)