อาสัญ - อาหารปริเยฏฐิทุกข์
อาสัญ ไม่มีสัญญา,
หมดสัญญา; เป็นคำใช้ในภาษาไทย หมายความว่า ความตาย, ตาย
อาสัตย์ ไม่มีสัตย์,
ไม่ซื่อตรง, กลับกลอก
อาสันทิ ม้านั่งสี่เหลี่ยมจัตุรัส
นั่งได้คนเดียว (ศัพท์เดิมเรียก อาสันทิก, ส่วนอาสันทิเป็นเตียงหรือเก้าอี้นอน)
อาสันนกรรม กรรมจวนเจียน,
กรรมใกล้ตาย หมายถึงกรรมที่เป็นกุศลก็ดี อกุศลก็ดี ที่ทำเมื่อจวนตายยังจับใจอยู่
ใหม่ๆ ถ้าไม่มีครุกกรรม และพหุลกรรม ย่อมให้ผลก่อนกรรมอื่นๆ เหมือนโคที่ยัดเยียดกันอยู่ในคอกเมื่อคนเลี้ยงเปิด
คอกออก ตัวใดอยู่ใกล้ประตู ตัวนั้นย่อมออกก่อน แม้จะเป็นโคแก่ (ข้อ ๑๑ ในกรรม
๑๒)
อาสา ความหวัง,
ความต้องการ; ไทยว่า รับทำโดยเต็มใจ, สมัคร, แสดงตัวขอรับทำการนั้นๆ
อาสาฬหะ เดือน
๘ ทางจันทรคติ
อาสาฬหบูชา การบูชาในเดือน
๘ หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๘ เพื่อรำลึกถึงคุณพระรัตนตรัย เป็นการพิเศษ
เนื่องในวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ทำให้เกิดมีปฐมสาวก
คือพระอัญญา-
โกณฑัญญะ และเกิดสังฆรัตนะคำรบครบพระรัตนตรัย
อาสาฬหปุรณมี วันเพ็ญเดือน
๘, วันกลางเดือน ๘, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
อาสาฬหมาส ดู อาสาฬหะ
อาหัจจบาท
เตียงที่เขาทำเอาเท้าเสียบเข้าไปในแม่แคร่ ไม่ได้ตรึงสลัก
อาหาร ปัจจัยอันนำมาซึ่งผล,
เครื่องค้ำจุนชีวิต, เครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตมี ๔ คือ ๑. กวฬิงการาหาร
อาหารคือคำข้าว
๒. ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ ๓. มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญ
เจตนา ๔. วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ
อาหารปริเยฏฐิทุกข์
ทุกข์เกี่ยวกับการแสวงอาหาร, ทุกข์ในการหากินได้แก่ อาชีวทุกข์ คือ ทุกข์เนื่องด้วยการเลี้ยงชีวิต