อาโลก - อาวุโส
อาโลก แสงสว่าง
อาโลกกสิณ กสิณคือแสดงสว่าง,
การเจริญสมถกรรมฐานตั้งใจเพ่งแสงสว่างเป็นอารมณ์ (ข้อ ๙ ในกสิณ ๑๐)
อาโลกเลณสถาน ชื่อถ้ำแห่งหนึ่งในมลัยชนบท
เกาะลังกา เป็นที่ทำสังคายนาครั้งที่ ๕ จารึกพระไตรปิฎกลงในใบลาน
อาโลกสัญญา ความสำคัญในแสงสว่าง,
กำหนดหมายแสงสว่างคือ ตั้งความกำหนดหมายว่ากลางวันไว้ในใจ ให้
เหมือนกันทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน เป็นวิธีแก้ง่วงอย่างหนึ่ง
อาวรณ์ เครื่องกั้น,
เครื่องกำบัง; ไทยมักใช้ในความหมายว่า ห่วงใย, อาลัย, คิดกังวลถึง
อาวัชนาการ ความรำพึง,
การรำลึก, นึกถึง
อาวาส ที่อยู่,โดยปรกติหมายถึงที่อยู่ของพระสงฆ์
คือ วัด
อาวาสปลิโพธ ความกังวลในอาวาสคือ
ภิกษุยังอยู่ในอาวาสนั้น หรือหลีกไปแต่ยังผูกใจอยู่ว่าจะกลับมา (เป็นเหตุ
อย่างหนึ่งที่ทำให้กฐินยังไม่เดาะ); ในการเจริญกรรมฐาน หมายถึงความห่วงใยกังวลเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
เช่นห่วง
งานก่อสร้างในวัด มีสิ่งของที่สะสมเอาไว้มาก เป็นต้น เมื่อจะเจริญกรรมฐาน
พึงตัดปลิโพธนี้ให้ได้ ดู ปลิโพธ
อาวาสมัจฉริยะ
ตระหนี่ที่อยู่ ได้แก่หวงแหน ไม่พอใจให้ใครๆ เข้ามาอยู่แทรกแซง หรือกีดกันผู้อื่นที่มิใช่พวกของตน
ไม่ให้เข้าอยู่ (ข้อ ๑ ในมัจฉริยะ ๕)
อาวาหะ การแต่งงาน,
การสมรส, การพาหญิงมาบ้านตัว
อาวาหวิวาหมังคลาภิเษก
พิธีรดน้ำอันเป็นมงคลในการแต่งงาน, พิธีรดน้ำในงานมงคลสมรส
อาวุโสผู้มีอายุ
เป็นคำเรียก หรือทักทาย ที่ภิกษุผู้แก่พรรษาใช้ร้องเรียกภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่า
(ภิกษุผู้ใหญ่ร้องเรียก
ภิกษุผู้น้อย) หรือภิกษุร้องเรียกคฤหัสถ์ คู่กับคำ ภนฺเต ซึ่งภิกษุผู้อ่อนกว่าใช้ร้องเรียกภิกษุผู้แก่กว่า
หรือคฤหัสถ์ร้อง
เรียกภิกษุ; ในภาษาไทย มักใช้เพี้ยนไปในทางตรงกันข้าม หมายถึง เก่ากว่า หรือแก่กว่าในวงงาน
กิจการ หรือความ
เป็นสมาชิก