อาราธนาธรรม - อาลัย

อาราธนาธรรม กล่าวคำเชิญหรือขอร้องพระให้แสดงธรรม (ให้เทศน์) ว่าดังนี้:
พฺรหฺมา จ โลกาธิปตี สหมฺปติ
กตฺอญฺชลี อนฺธิวรํ อยาจถ
สนฺตีธ สตฺตาปฺปรชกฺขชาติกา
เทเสตุ ธมฺมํ อนุกมฺปิมํ ปชํ ฯ

อาราธนาพระปริตร
กล่าวคำเชิญหรือขอร้องให้พระสวดพระปริตร ว่าดังนี้:
ปตฺติปฏิพาหาย
สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา
สพฺพทุกฺขวินาสาย
ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ
(ว่า ๓ ครั้ง แต่ครั้งที่ ๒ เปลี่ยน ทุกฺข เป็น ภย; ครั้งที่ ๓ เปลี่ยนเป็น โรค)

อาราธนาศีล กล่าวคำเชิญหรือขอร้องพระให้ให้ศีล, สำหรับศีล ๕ ว่าดังนี้: มยํ ภนฺเต, (วิสุง วิสุง รกฺขณตฺถาย),
ติสรเณน สห, ปญฺจ สีลานิ ยาจาม; ทุติยมฺปี มยํ....., ตติยมฺปิ มยํ......
(คำในวงเล็บ จะไม่ใช้ก็ได้)
คำอาราธนาศีล ๘ ก็เหมือนกันเปลี่ยนแต่ ปญฺจ เป็น อฏฺฐ

อาราธนาศีลอุโบสถ กล่าวคำเชิญพระให้ให้อุโบสถศีล ว่าพร้อมกันทุกคนดังนี้ : มยํ ภนฺเต, ติสรเณน สห, อฏฺฐงฺคสม
นฺนาคตํ, อุโบสถํ ยาจาม
(ว่า ๓ จบ)

อาราม วัด, ที่เป็นที่มายินดี, สวนเป็นที่รื่นรมย์, ความยินดี, ความรื่นรมย์, ความเพลิดเพลิน; ในทางพระวินัย เกี่ยวกับ
ของสงฆ์ หมายถึง ของปลูกสร้างในอารามตลอดจนต้นไม้

อารามวัตถุ ที่ดินวัด, ที่ดินพื้นวัด

อารามิก คนทำงานวัด, คนวัด

อารามิกเปสกะ ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือ แต่งตั้งจากสงฆ์ให้มีหน้าที่เป็นผู้ใช้คนทำงานวัด

อาลกมันทา ราชธานีซึ่งเป็นทิพยนครของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา

อาลปนะ คำร้องเรียก

อาลยสมุคฺฆาโต ความถอนขึ้นด้วยดีซึ่งอาลัย, การถอนอาลัยคือตัณหาได้เด็ดขาด (เป็นไวพจน์แห่งวิราคะ)

อาลัย 1. ที่อยู่, ที่อาศัย, แหล่ง 2. ความมีใจผูกพัน, ความเยื่อใย, ความติดใจปรารถนา, ความพัวพัน มักหมายถึงตัณหา;
ในภาษาไทยใช้ว่าห่วงใย หวนคิดถึง