อามัย - อารมณ์
อามัย ความป่วยไข้,
โรค, ความไม่สบาย; ตรงข้ามกับ อนามัย คือความสบาย, ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
อามิส เครื่องล่อใจ,
เหยื่อ, สิ่งของ
อามิสทายาท ทายาทแห่งอามิส,
ผู้รับมรดกอามิส, ผู้รับเอาสมบัติทางวัตถุ เช่น ปัจจัย ๔ จากพระพุทธเจ้ามาเสพเสวย
ด้วยอาศัยผลแห่งพุทธกิจที่ได้ทรงบำเพ็ญไว้; โดยตรง หมายถึงรับเอาปัจจัย ๔
มาบริโภค โดยอ้อม หมายถึง ทำกุศลที่
นำไปสู่วัฏฏะ เช่นให้ทาน บำเพ็ญฌานสมาบัติ ด้วยมุ่งหมายมนุษยสมบัติและเทวสมบัติ;
พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุ
ทั้งหลายให้เป็นธรรมทายาท มิให้เป็นอามิสทายาท เทียบ ธรรมทายาท
อามิสบูชา
การบูชาด้วยอามิส คือ ด้วยสิ่งของมีดอกไม้ ของหอม อาหาร และวัตถุอื่นๆ (ข้อ
๑ ในบูชา ๒)
อามิสปฏิสันถาร
การต้อนรับด้วยสิ่งของ เช่น อาหาร น้ำบริโภค เป็นต้น (ข้อ ๑ ใน ปฏิสันถาร
๒)
อามิสสมโภค คบหากันในทางอามิส
ได้แก่ ให้หรือรับอามิส
อายโกศล ดู โกศล
๓
อายตนะ ที่ต่อ,
เครื่องติดต่อ, แดนต่อความรู้, เครื่องรู้และสิ่งที่รู้ เช่น ตาเป็นเครื่องรู้
รูปเป็นสิ่งที่รู้, หูเป็นเครื่องรู้ เสียง
เป็นสิ่งที่รู้ เป็นต้น, จัดเป็น ๒ ประเภท คือ อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก
๖
อายตนะภายนอก
เครื่องต่อภายนอก, สิ่งที่ถูกรู้มี ๖ คือ ๑. รูป รูป ๒ สัททะ
เสียง ๓. คันธะ กลิ่น ๔. รส รส ๕. โผฏฐัพพะ
สิ่งต้องกาย ๖ ธัมมะ ธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ที่เกิดกับใจหรือสิ่งที่ใจรู้;
อารมณ์ ๖ ก็เรียก
อายตนะภายใน เครื่องต่อภายใน,
เครื่องรับรู้มี ๖ คือ ๑. จักขุ ตา ๒. โสต หู ๓. ฆาน
จมูก ๔. ชิวหา ลิ้น ๕. กาย กาย
๖. มโน ใจ; อินทรีย์ ๖ ก็เรียก
อายาจนะ การขอร้อง,
การวิงวอน, การเชื้อเชิญ
อายุกษัย, อายุขัย
การสิ้นอายุ, ความตาย
อายุกัป, อายุกัปป์กาลกำหนดแห่งอายุ,
กำหนดอายุ, ช่วงเวลาแต่เกิดถึงตายตามปกติหรือที่ควรจะเป็นของสัตว์
ประเภทนั้นๆ ในยุคสมัยนั้นๆ ดู กัป
อายุวัฒนะ ความเจริญอายุ,
ยืดอายุ, อายุยืน
อารมณ์ เครื่องยึดหน่วงของจิต,
สิ่งที่จิตยึดหน่วง, สิ่งที่ถูกรู้หรือถูกรับรู้ ได้แก่ อายตนะภายนอก ๖
คือ รูป เสียง กลิ่น
รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์; ในภาษาไทย ความหมายเลือนไปเป็นความรู้สึก หรือความเป็นไปแห่งจิตใจในขณะ
หรือช่วงเวลาหนึ่งๆ เช่นว่า อย่าทำตามอารมณ์ วันนี้อารมณ์ดี อารมณ์เสีย เป็นต้น