อาณาประชาราษฎร์ - อาทิตยโคตร

อาณาประชาราษฎร์ ราษฎรชาวเมืองที่อยู่ในอำนาจปกครอง

อาณาประโยชน์ ผลประโยชน์ที่ตนมีอำนาจปกครองส่วนตัว

อาณาปวัติ ความเป็นไปแห่งอาณา, ขอบเขตที่อำนาจปกครองแผ่ไป; เป็นไปในอำนาจปกครอง, อยู่ในอำนาจ
ปกครอง

อาณาสงฆ์ อำนาจของสงฆ์, อำนาจปกครองของสงฆ์ คือสงฆ์ประชุมกันใช้อำนาจโดยชอบธรรม ระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้น

อาดูร เดือดร้อน, กระวนกระวาย, ทนทุกขเวทนาทั้งกายและใจ

อาตมภาพฉัน, ข้าพเจ้า (สำหรับพระภิกษุสามเณรใช้เรียกตัวเอง เมื่อพูดกับคฤหัสถ์ผู้ใหญ่ ตลอดถึงพระเจ้าแผ่นดิน)

อาตมัน ตัวตน, คำสันสกฤต ตรงกับบาลีคือ อัตตา

อาตมา ฉัน, ข้าพเจ้า (สำหรับพระภิกษุสามเณรใช้พูดกับผู้มีบรรดาศักดิ์ แต่บัดนี้ นิยมใช้พูดอย่างให้เกียรติแก่คนทั่วไป

อาถรรพณ์ เวทมนตร์ที่ใช้เพื่อให้ดีหรือร้าย, วิชาเสกเป่าป้องกัน, การทำพิธีป้องกันอันตรายต่างๆ ตามพิธีพราหมณ์ เช่น
พิธีฝังเสาหิน หรือ ฝังบัตรพลี เรียกว่า ฝังอาถรรพณ์ (สืบเนื่องมาจากพระเวทคัมภีร์ที่ ๔ คืออถรรพเวท หรือ อาถรรพณ-
เวท) อาถรรพ์ ก็ใช้

อาทร ความเอื้อเฟื้อ, ความเอาใจใส่

อาทิ เป็นต้น; ทีแรก, ข้อต้น

อาทิกัมมิกะ ผู้ทำกรรมทีแรก หมายถึงภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติในสิกขาบทนั้นๆ

อาทิตตปริยายสูตร ชื่อพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุประมาณ ๑,๐๐๐ รูป มีอุรุเวลกัสสป เป็นต้น ซึ่งเคย
เป็นชฎิลบูชาไฟมาก่อน ว่าด้วยอายตนะทั้ง ๖ ที่ร้อนติดไฟลุกทั่ว ด้วยไฟราคะ ไฟโทสะ และไฟโมหะ ตลอดจนร้อน
ด้วยทุกข์ มีชาติ ชรามรณะ เป็นต้น ทำให้ภิกษุเหล่านั้นบรรลุอรหัตตผล (มาในคัมภีร์มหาวรรค แห่งพระวินัยปิฎก และ
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค พระสุตตันตปิฎก)

อาทิตยโคตร ตระกูลพระอาทิตย์, เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์, ตระกูลที่สืบเชื้อสาย นางอทิติผู้เป็นชายาของพระกัศยป ประชา-
บดี, ท่านว่าสกุลของพระพุทธเจ้าก็เป็นอาทิตยโคตร (โคตมโคตรกับอาทิตยโคตร มีความหมายอย่างเดียวกัน)