อากิญจัญญายตนะ - อาจารย์
อากิญจัญญายตนะ
ฌานกำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์, ภพของผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนฌาน
(ข้อ ๓ ใน
อรูป ๔)
อากูล วุ่นวาย,
ไม่เรียบร้อย, สับสน, คั่งค้าง
อาคม ปริยัติที่เรียน,
การเล่าเรียนพุทธพจน์; ในภาษาไทยว่าเวทมนตร์
อาคันตุกะ ผู้มาหา,
ผู้มาจากที่อื่น, ผู้จรมา, แขก; (ในคำว่า ถ้าปรารถนาจะให้อาคันตุกะได้รับแจกด้วย)
ภิกษุผู้จำ
พรรษามาจากวัดอื่น, ถ้าภิกษุผู้มีหน้าที่เป็นจีวรภาชกะ (ผู้แจกจีวร) ปรารถนาจะให้อาคันตุกะมีส่วนได้รับแจกจีวร
ด้วย ต้องอปโลกน์ คือบอกเล่าขออนุมัติต่อภิกษุเจ้าถิ่นคือผู้จำพรรษาในวัดนั้น
(ซึ่งเรียกว่าวัสสิกะ หรือ วัสสาวาสิกะ
แปลว่า ภิกษุผู้อยู่จำพรรษา)
อาคันตุกภัต อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุอาคันตุกะ
คือผู้จรมาจากต่างถิ่น
อาคันตุกวัตร ธรรมเนียมที่ภิกษุควรปฏิบัติต่ออาคันตุกะ
คือภิกษุผู้จรมาเช่นขวนขวายต้อนรับ แสดงความนับถือ จัด
หรือบอกให้น้ำให้อาสนะ ถ้าอาคันตุกะจะมาพักมาอยู่ พึงแสดงเสนาสนะ บอกที่ทางและกติกาสงฆ์
เป็นต้น
อาคาริยวินัย วินัยของผู้ครองเรือน
ดู วินัย ๒
อาจริยมัตต์
ภิกษุผู้มีพรรษาพอที่จะเป็นอาจารย์ให้นิสสัยแก่ภิกษุอื่นได้, พระปูนอาจารย์
คือ มีพรรษา ๑๐ ขึ้นไป หรือ
แก่กว่าราว ๖ พรรษา; อาจริยมัต ก็เขียน
อาจริยวัตร กิจที่อันเตวาสิกควรประพฤติปฏิบัติต่ออาจารย์
(เช่นเดียวกับ อุปัชฌายวัตร ที่สัทธิวิหาริกพึงปฏิบัติต่ออุปัชฌาย์)
อาจริยวาท วาทะของพระอาจารย์,
มติของพระอาจารย์; บางที ใช้เป็นคำเรียกพุทธศาสนานิกายฝ่ายเหนือ คือ มหายาน
อาจาระ ความประพฤติดี,
มรรยาทดีงาม, จรรยา
อาจารย์ ผู้สั่งสอนวิชาความรู้,
ผู้ฝึกหัดอบรมมรรยาท, อาจารย์ ๔ คือ ๑. บัพพชาจารย์ หรือ บรรพชาจารย์
อาจารย์ใน
บรรพชา ๒. อุปสัมปทาจารย์ อาจารย์ในอุปสมบท ๓. นิสสยาจารย์
อาจารย์ผู้ให้นิสสัย ๔. อุทเทศาจารย์ หรือ ธรรมา-
จารย์ อาจารย์ผู้สอนธรรม