อัพภานารหะ - อัสสชิ
อัพภานารหะ
ภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน ได้แก่ภิกษุผู้ประพฤติมานัตสิ้น ๖ ราตรีครบกำหนดแล้ว
เป็นผู้ควรแก่อัพภานคือ
ควรที่สงฆ์วีสติวรรคจะสวดอัพภาน (เรียกเข้าหมู่) ได้ต่อไป
อัพภานารหภิกษุ
ดู อัพภานารหะ
อัพโภกาสิกังคะ
องค์แห่งผู้ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร คือ อยู่เฉพาะกลางแจ้งไม่อยู่ในที่มุงบัง
หรือแม้แต่โคนไม้ (ห้ามถือ
ในฤดูฝน) (ข้อ ๑๐ ในธุดงค์ ๑๓)
อัพยากตะ, อัพยากฤต
ซึ่งท่านไม่พยากรณ์, บอกไม่ได้ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล คือ เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว
ไม่ใช่กุศล
ไม่ใช่อกุศล
อัมพปาลีวัน สวนที่หญิงแพศยาชื่ออัมพปาลี
ถวายเป็นสังฆาราม ไม่นานก่อนพุทธปรินิพพาน อยู่ในเขตเมืองเวสาลี
อัมพวัน สวนมะม่วง
มีหลายแห่ง เพื่อกันสับสน ท่านมักใส่ชื่อเจ้าของสวนนำหน้าด้วย เช่น สวนมะม่วงของหมอชี
วก ในเขตเมืองราชคฤห์ ซึ่งถวายเป็นสังฆาราม เรียกว่า ชีวกัมพวัน เป็นต้น
อัยกะ, อัยกา ปู่,
ตา
อัยการ เจ้าพนักงานที่ศาลฝ่ายอาณาจักร
จัดไว้เป็นเจ้าหน้าที่ฟ้องร้อง, ทนายแผ่นดิน, ทนายหลวง
อัยกี, อัยยิกา
ย่า, ยาย
อัศวเมธ พิธีเอาม้าบูชายัญ
คือปล่อยม้าอุปการให้ผ่านดินแดนต่าง ๆ เป็นการประกาศอำนาจจนม้านั้นกลับแล้วเอาม้า
นั้นฆ่าบูชายัญ เป็นพิธีประกาศอานุภาพของราชาธิราชในอินเดียครั้งโบราณ
อัสดงค์ ตกไป คือ
พระอาทิตย์ตก, พจนานุกรม เขียน อัสดง
อัสมิมานะ การถือตัวว่านี่ฉัน
นี่กู กูเป็นนั่นเป็นนี่, การถือเราถือเขา
อัสสกะ ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา
๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีป ตั้งอยู่ลุ่มน้ำโคธาวรี ทิศตะวันตกเฉียงเหนือแห่ง
แคว้นอวันตี นครหลวงชื่อ โปตลิ (บางทีเรียก โปตนะ)
อัสสชิ1. พระมหาสาวกองค์หนึ่งเป็นพระเถระรูปหนึ่งในคณะปัญจวัคคีย์
เป็นพระอรหันต์รุ่นแรกและเป็นอาจารย์
ของพระสารีบุตร 2. ชื่อภิกษุรูปหนึ่งในภิกษุ ๖ รูป ซึ่งประพฤติเหลวไหลที่เรียกว่า
พระฉัพพัคคีย์ คู่กับพระปุนัพพสุกะ