อันติมวัตถุ - อัปปมาท

อันติมวัตถุ วัตถุมีในที่สุด หมายถึงอาบัติปาราชิก ซึ่งทำให้ภิกษุและภิกษุณีผู้ต้อง มีโทษถึงที่สุดคือ ขาดจากภาวะของตน

อันเตวาสิก ผู้อยู่ในสำนัก, ภิกษุผู้ขออยู่ร่วมสำนัก, ศิษย์ (ภิกษุผู้รับให้อยู่ร่วมสำนักเรียกอาจารย์); อันเตวาสิกมี ๔
ประเภทคือ ๑. ปัพพชันเตวาสิก อันเตวาสิกในบรรพชา ๒. อุปสัมปทันเตวาสิก อันเตวาสิกในอุปสมบท ๓. นิสสยัน
เตวาสิก อันเตวาสิกผู้ถือนิสัย ๔. ธัมมันเตวาสิก อันเตวาสิกผู้เรียนธรรม

อันธกวินทะ ชื่อหมู่บ้านแห่งหนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ห่างจากกรุงราชคฤห์ประมาณ ๑ คาวุต (คัมภีร์ฉบับสีหฬว่า ๓ คาวุต)

อัปปณิหิตวิโมกข์ ความหลุดพ้นด้วยไม่ทำความปรารถนา คือ พิจารณาเห็นนามรูปเป็นทุกข์ แล้วถอนความปรารถนา
เสียได้ (ข้อ ๓ ในวิโมกข์ ๓)

อัปปณิหิตสมาธิ การเจริญสมาธิที่ทำให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดทุกขลักษณะ (ข้อ ๓ ในสมาธิ ๓)

อัปปนาภาวนา ภาวนาขั้นแน่วแน่ คือฝึกสมาธิถึงขั้นเป็นอัปปนา เป็นขั้นบรรลุปฐมฌาน (ข้อ ๓ ในภาวนา ๓)

อัปปนาสมาธิ สมาธิแน่วแน่, จิตตั้งมั่นสนิท เป็นสมาธิในฌาน (ข้อ ๒ ในสมาธิ ๒, ข้อ ๓ ในสมาธิ ๓)

อัปปมัญญา ธรรมที่แผ่ไปไม่มีประมาณ หมายถึง เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ที่แผ่ทั่วไปในมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย
อย่างกว้างขวางสม่ำเสมอกัน ไม่จำกัดขอบเขต มี ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ที่กล่าวแล้วนั้น ดู พรหมวิหาร

อัปปมัตตกวิสัชชกะ ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือ แต่งตั้งจากสงฆ์ให้มีหน้าที่เป็นผู้จ่ายของเล็กน้อย เช่น เข็มเย็บผ้า มีดตัด
เล็บ ประคด เภสัชทั้งห้า เป็นต้น ให้แก่ภิกษุทั้งหลาย

อัปปมาท ความไม่ประมาท, ความเป็นอยู่อย่างไม่ขาดสติ, ความไม่เผลอ, ความไม่เลินเล่อเผลอสติ, ความไม่ปล่อย
ปละละเลย, ความระมัดระวังที่จะไม่ทำเหตุแห่งความผิดพลาดเสียหาย และไม่ละเลยโอกาสที่จะทำเหตุแห่งความดี
งามและความเจริญ, ความมีสติรอบคอบ
ความไม่ประมาท พึงกระทำในที่ ๔ สถาน คือ ๑. ในการละกายทุจริต ประพฤติกายสุจริต ๒. ในการละวจี
ทุจริต ประพฤติวจีสุจริต ๓. ในการละมโนทุจริต ประพฤติมโนสุจริต ๔. ในการละความเห็นผิด ประกอบความเห็น
ที่ถูก; อีกหมวดหนึ่งว่า ๑. ระวังใจไม่ให้กำหนัด ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ๒. ระวังใจไม่ให้ขัดเคือง ใน
อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ๓. ระวังใจไม่ให้หลง ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง ๔. ระวังใจไม่ให้มัวเมา
ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา