อันตคุณ - อันตรายิกธรรม

อันตคุณ ไส้น้อย, ไส้ทบ

อันตรธาน หายไป, เสื่อมสิ้นไป, สูญหายไป

อันตรวาสก ผ้านุ่ง, สบง, เป็นผืนหนึ่งในไตรจีวร

อันตราบัติ อาบัติสังฆาทิเสส ที่ต้องใหม่อีกในระหว่างประพฤติวุฏฐานวิธี คือตั้งแต่เริ่มอยู่ปริวาสไปจนถึงก่อนอัพภาน

อันตราปรินิพพายี พระอนาคามีผู้จะปรินิพพาน ในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง (ข้อ ๑ ในอนาคามี ๕)

อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ เหตุที่จะทำให้ผู้บวชในธรรมวินัยนี้ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้ไม่ยั่งยืนมี ๔ อย่าง
คือ ๑. อดทนต่อคำสั่งสอนไม่ได้ ๒. เห็นแก่ปากแก่ท้อง ๓. ฝันใฝ่ทะยานอยากได้กามคุณ ๔. รักผู้หญิง

อันตราย ๑๐ เหตุฉุกเฉิน หรือเหตุขัดข้องที่ทรงอนุญาตให้เลิกสวดปาฏิโมกข์ได้ โดยให้สวดปาฏิโมกข์ย่อแทนมี ๑๐
อย่างคือ ๑. ราชันตราย พระราชาเสด็จมา (เลิกสวดเพื่อรับเสด็จ) ๒. โจรันตราย โจรมาปล้น (เพื่อหนีภัย) ๓. อัคยันต-
ราย
ไฟไหม้ (เพื่อดับหรือป้องกันไฟ) ๔. อุทกันตราย น้ำหลากมา (หรือฝนตกเมื่อสวดกลางแจ้ง; เพื่อหนีน้ำ) ๕. มนุส-
สันตราย
คนมามาก (เพื่อรู้เหตุหรือเพื่อปฏิสันถาร) ๖. อมนุสสันตราย ผีเข้าภิกษุ (เพื่อขับผี) ๗. วาฬันตราย สัตว์ร้าย
เช่นเสือมาในวัด (เพื่อไล่สัตว์) ๘. สิริงสปันตราย งู เลื้อยเข้ามา (เพื่อไล่งู) ๙. ชีวิตันตราย มีเรื่องเป็นตาย เช่นภิกษุ
อาพาธโรคร้าย (เพื่อช่วยแก้ไข) ๑๐. พรหมจริยันตราย มีอันตรายแก่พรหมจรรย์ เช่น มีคนมาจับภิกษุ (เลิกเพราะ
อลหม่าน) ดู ปาฏิโมกข์ย่อ, อุเทศ
อนึ่ง ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถ้ามีอันตรายเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ไม่มีได้บอกอาบัติของตนพ้นคืน
ไป ยังไม่ถือว่าปิดอาบัติ

อันตรายิกธรรม ธรรมอันกระทำอันตราย คือ เหตุขัดขวางต่าง ๆ เช่น เหตุขัดขวางการอุปสมบท ๘ อย่าง มีการเป็น
โรคเรื้อน เป็นต้น