อัญญสมานาเจตสิก - อัญญาโกณฑัญญะ
อัญญสมานาเจตสิก
เจตสิกที่มีเสมอกันแก่จิตพวกอื่น คือ ประกอบเข้าได้กับจิตทุกฝ่ายทั้งกุศลและอกุศล
มิใช่เข้าได้
ฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียว มี ๑๓ แยกเป็น ก. สัพพจิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง)
๗ คือ ผัสสะ (ความ
กระทบอารมณ์) เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ มนสิการ (ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ,
ใส่ใจ) ข. ปกิณณ-
กเจตสิก (เจตสิกที่เรี่ยราย คือ เกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง)
๖ คือวิตก (ความ
ตรึกอารมณ์) วิจาร (ความตรองอารมณ์) อธิโมกข์ (ความปักใจในอารมณ์) วิริยะ
ปีติ ฉันทะ (ความพอใจในอารมณ์)
อัญญสัตถุเทศ การถือศาสดาอื่น
จัดเป็นความผิดพลาดสถานหนัก (ข้อ ๖ ในอภิฐาน ๖)
อัญญสัตววิสัย
วิสัยของสัตว์อื่น, วิสัยของสัตว์ทั่ว ๆ ไป
อัญญาโกณฑัญญะ
พระมหาสาวกผู้เป็นปฐมสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นรูปหนึ่งในคณะพระปัญจวัคคีย์
เป็นบุตร
พราหมณ์มหาศาล เกิดที่หมู่บ้านโทณวัตถุ ไม่ไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์ เดิมชื่อ
โกณฑัญญะ เป็นพราหมณ์หนุ่มที่สุดใน
บรรดาพราหมณ์ ๘ คน ผู้ทำนายลักษณะของสิทธัตถกุมาร และเป็นผู้เดียวที่ทำนายว่า
พระกุมารจะทรงออกบรรพชา
ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่นอน มีคติเป็นอย่างเดียว ต่อมาท่านออกบวชตามเสด็จพระสิทธัตถะ
ขณะ
บำเพ็ญทุกรกิริยา เป็นหัวหน้าพระเบญจวัคคีย์ และได้นำคณะหลีกหนีไป เมื่อพระมหาบุรุษเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา
กลับเสวยพระกระยาหาร ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วเสด็จไปโปรด ท่านสดับปฐมเทศนาได้ดวงตาเป็นธรรม
ขอบรรพชาอุปสมบทเป็นปฐมสาวกของพระพุทธเจ้า
โกณฑัญญะ ที่ได้ชื่อว่าอัญญาโกณฑัญญะ เพราะเมื่อท่านฟังปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้า
และได้ธรรมจักษุ
พระพุทธเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ ๆ (โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอๆ)
คำว่า อัญญาจึงมารวม
เข้ากับชื่อของท่าน ต่อมาท่านได้สำเร็จอรหัตด้วยฟังอนัตตลักขณสูตร ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางรัตตัญญู
(รู้
ราตรีนาน คือ บวชนาน รู้เห็นเหตุการณ์มากมาแต่ต้น) ท่านทูลลาพระพุทธเจ้าไปอยู่ที่ฝั่งสระมันทากินี
ในป่าฉัททันต
วัน แดนหิมพานต์ อยู่ ณ ที่นั้น ๑๒ ปี ก็ปรินิพพานก่อนพุทธปรินิพพาน ดู
โกณฑัญญะ ด้วย