อสุภ, อสุภะ - อเหตุกทิฏฐิ

อสุภ, อสุภะ สภาพที่ไม่งาม, พิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่นให้เห็นสภาพที่ไม่งาม; ในความหมายเฉพาะ หมายถึง
ซากศพในสภาพต่าง ๆ ซึ่งใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน รวม ๑๐ อย่าง คือ ๑. อุทธุมาตกะ ซากศพที่เน่าพอง ๒. วินีล
กะ
ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำ ๓. วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลออกอยู่ ๔. วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว
๕. วิกขายิตกะ ซากศพที่สัตว์กัดกินแล้ว ๖. วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาด ๗. หตวิกขิตตกะ ซากศพที่คนมี
เวรเป็นข้าศึกกัน สับฟันเป็นท่อน ๆ ๘. โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารด้วยศัตรามีโลหิตไหลอาบอยู่ ๙. ปุฬุวกะ ซาก
ศพที่มีตัวหนอนคลานคล่ำไปอยู่ ๑๐. อัฏฐิกะ ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก

อสุภสัญญา กำหนดหมายถึงความไม่งามแห่งร่างกาย (ข้อ ๓ ในสัญญา ๑๐)

อสุรกาย พวกอสูร, ภพแห่งสัตว์เกิดในอบายพวกหนึ่ง เป็นพวกสะดุ้ง หวาดหวั่นไร้ความรื่นเริง ถ้าเปรียบกับในโลก
นี้ก็เหมือนดังคนอดอยาก เที่ยวทำโจรกรรมในเวลาค่ำคืน หลอกลวงฉกชิงเอาทรัพย์ของผู้อื่น (ข้อ ๔ ในอบาย ๔)

อสูร สัตว์กึ่งเทพหรือเทพชั้นต่ำพวกหนึ่ง ตำนานกล่าวว่า เดิมเป็นเทวดาเก่า (บุพเทวา) เป็นเจ้าถิ่นครอบครองดาวดึงส
เทวโลก ต่อมาถูกเทวดาพวกใหม่ มีท้าวสักกะเป็นหัวหน้าแย่งถิ่นไป โดยถูกเทพพวกใหม่นั้นจับเหวี่ยงลงมาใน
ระหว่างพิธีเลี้ยงเมื่อพวกตนดื่มสุราจนเมามาย ได้ชื่อใหม่ว่าอสูร เพราะเมื่อฟื้นคืนสติขึ้นระหว่างทางที่ตกจาก
ดาวดึงส์นั้น ได้กล่าวกันว่า “พวกเราไม่ดื่มสุราแล้ว” (อสูรจึงแปลว่าผู้ไม่ดื่มสุรา) พวกอสูรได้ครองพิภพใหม่ที่เชิงเขา
สิเนรุ หรือเขาพระสุเมรุ และมีสภาพความเป็นอยู่ มีอายุ วรรณะ ยศ อิสริยสมบัติ คล้ายกันกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ พวก
อสูรเป็นศัตรูโดยตรงกับเทวดา และมีเรื่องราวขัดแย้งทำสงครามกันบ่อย ๆ พวกอสูรออกจะเจ้าโทสะ จึงมักถูกกล่าว
ถึงในฐานะเป็นพวกมีนิสัยพาลหรือเป็นฝ่ายผิด

อเสขะ ผู้ไม่ต้องศึกษา เพราะศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว ได้แก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล คือ พระอรหันต์, คู่กับเสขะ

อเสขบุคคล บุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา ดู อเสขะ

อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ คือความเห็นผิดว่า คนเราจะได้ดีหรือชั่วตามคราวเคราะห์ ถึงคราวจะดี ก็ดีเอง ถึง
คราวจะร้าย ก็ร้ายเอง ไม่มีเหตุอื่นจะทำให้คนดีคนชั่วได้ (ข้อ ๒ ในทิฏฐิ ๓)