อรูป - อวหาร
อรูป ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์
ได้แก่ อรูปฌาน, ภพของสัตว์ผู้เข้าถึงอรูปฌาน, ภพของอรูปพรหม มี ๔ คือ ๑.
อา-
กาสานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๒. วิญญาณัญจายตนะ
(กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็น
อารมณ์) ๓. อากิญจัญญายตนะ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไร ๆ เป็นอารมณ์) ๔.
เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะมี
สัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)
อรูปฌาน ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์
มี ๔ ดู อรูป
อรูปพรหม พรหมผู้เข้าถึงอรูปฌาน,
พรหมไม่มีรูป, พรหมในอรูปภพ มี ๔ ดู อรูป
อรูปภพ โลกเป็นที่อยู่ของพรหมไม่มีรูป
ดู อรูป
อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม,
ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน, ความปรารถนาในอรูปภพ (ข้อ ๗ ใน
สังโยชน์ ๑๐)
อรูปาวจร ซึ่งท่องเที่ยวไปในอรูปภพ,
ยังเกี่ยวข้องอยู่กับอรูปธรรม
อลังการ เครื่องประดับประดา
อลชฺชิตา อาการที่จะต้องอาบัติด้วยไม่ละอาย
อลัชชี ผู้ไม่มีความละอาย,
ผู้หน้าด้าน,ภิกษุผู้มักประพฤติละเมิดพุทธบัญญัติ
อเลอ แปลง, ที่อเลออื่น
คือที่แปลงอื่น
อโลภะ ความไม่โลภ,
ไม่โลภอยากได้ของเขา, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับความโลภ คือ ความคิดเผื่อแผ่เสียสละ,
จาคะ (ข้อ ๑
ในกุศลมูล ๓)
อวตาร การลงมาเกิด,
การแบ่งภาคมาเกิด, เป็นความหมายในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู เช่น พระนารายณ์อวตาร
คือแบ่ง
ภาคลงมาจากสวรรค์มาเกิดเป็นมนุษย์ เป็นต้น
อวสาน ที่สุด,
ที่จบ
อวสานกาล เวลาสุดท้าย,
ครั้งสุดท้าย
อวหาร การลัก,
อาการที่ถือว่าเป็นการลักทรัพย์ ในอรรถกถาแสดงไว้ ๒๕ อย่าง พึงทราบในที่นี้
๑๓ อย่าง คือ ๑. ลัก
๒. ชิงหรือวิ่งราว ๓. ลักต้อน ๔. แย่ง ๕. ลักสับ ๖. ตู่ ๗. ฉ้อ ๘. ยักยอก
๙. ตระบัด ๑๐. ปล้น ๑๑. หลอกลวง ๑๒. กด
ขี่หรือกรรโชก ๑๓. ลักซ่อน