อริยบุคคล ๗ - อรุณ
อริยบุคคล ๗ บุคคลผู้เป็นอริยะ,
บุคคลผู้ประเสริฐ, ท่านผู้บรรลุธรรมวิเศษมีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น นัยหนึ่งจำแนก
เป็น ๗ คือ สัทธานุสารี ธัมมานุสารี สัทธาวิมุต ทิฏฐิปปัตตะ กายสักขี ปัญญาวิมุต
และ อุภโตภาควิมุต (ดูคำนั้นๆ)
อริยปริเยสนา การแสวงหาที่ประเสริฐ
คือ แสวงหาสิ่งที่ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งชาติ ชรามรณะ หรือกองทุกข์โดย
ความได้แก่แสวงหาโมกขธรรม เพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์, ความหมายอย่างง่าย
ได้แก่การแสวงหาใน
ทางสัมมาชีพ (ข้อ ๒ ในปริเยสนา ๒)
อริยผล ผลอันประเสริฐ
มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และพระอรหัตตผล
อริยมรรค ทางอันประเสริฐ,
ทางดำเนินของพระอริยะ, ญาณอันให้สำเร็จความเป็นพระอริยะ มี ๔ คือ โสดาปัตติมรรค
สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และพระอรหัตตมรรค; บางทีเรียกมรรคมีองค์ ๘ ว่า อริยมรรคก็มี
แต่ควรเรียกเต็มว่า
อริยอัฏฐังคิกมรรค
อริยวงศ์ ปฏิปทาที่พระอริยบุคคลผู้เป็นสมณะ
ปฏิบัติสืบกันมาไม่ขาดสาย, อริยประเพณี มี ๔ คือ ๑. สันโดษด้วย
จีวร ๒. สันโดษด้วยบิณฑบาต ๓. สันโดษด้วยเสนาสนะ ๔. ยินดีในการบำเพ็ญกุศล
ละอกุศล
อริยวัฑฒิ, อารยวัฒิ
ความเจริญอย่างประเสริฐ, หลักความเจริญของอารยชน มี ๕ คือ ๑. ศรัทธา
ความเชื่อ ความมั่น
ใจในพระรัตนตรัย ในหลักแห่งความจริงความดีงามอันมีเหตุผล และในการที่จะทำความดีงาม
๒. ศีล ความประพฤติ
ดี มีวินัย เลี้ยงชีพสุจริต ๓. สุตะ การเล่าเรียนสดับฟังศึกษาหาความรู้
๔. จาคะ ความเผื่อแผ่เสียสละมีน้ำใจและใจ
กว้าง พร้อมที่จะรับฟังและร่วมมือ ไม่คับแคบเอาแต่ตัว ๕. ปัญญา ความรอบรู้
รู้คิด รู้พิจารณา เข้าใจเหตุผล รู้จักโลก
และชีวิตตามความเป็นจริง
อริยสัจ ความจริงอย่างประเสริฐ,
ความจริงของพระอริยะ, ความจริงที่ทำคนให้เป็นพระอริยะ มี ๔ อย่าง คือ ทุกข์
สมุทัย นิโรธ มรรค (เรียกเต็มว่า ทุกข์ ทุกขสมัย ทุกขนิโรธ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา)
อริยสัจจ์ ดู อริยสัจ
อริยสาวก 1.
สาวกผู้เป็นพระอริยะ, สาวกผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น
2. สาวกของพระอริยะ (คือ
ของพระพุทธเจ้าผู้เป็นอริยะ)
อริยสาวิกา สาวิกาที่เป็นพระอริยะ,
อริยสาวกหญิง
อริยอัฏฐังคิกมรรค
มรรคมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ ดู มรรค
อรุณ เวลาใกล้อาทิตย์จะขึ้น
มีสองระยะคือมีแสงขาวเรื่อ ๆ (แสงเงิน) และแสงแดง (แสงทอง), เวลาย่ำรุ่ง