อภิสมาจาริกาสิกขา - อมาวสี
อภิสมาจาริกาสิกขา
หลักการศึกษาอบรมในฝ่ายขนบธรรมเนียมที่จะชักนำความประพฤติ ความเป็นอยู่ของพระสงฆ์
ให้ดีงามมีคุณยิ่งขึ้นไป, สิกขาฝ่ายอภิสมาจาร เทียบ อาทิพรหมจริยกา สิกขา
อภิสังขาร
สภาพที่ปรุงแต่งผลแห่งการ กระทำของบุคคล, เจตนาที่เป็นตัว การในการทำกรรม
มี ๓ อย่างคือ ๑. ปุญ-
ญาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นบุญ ๒. อปุญญาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญ
คือ บาป ๓. อาเนญชาภิสังขาร
อภิสังขารที่เป็นอเนญชา คือ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔; เรียกง่าย ๆ ได้แก่
บุญ บาป ฌาน
อภิสังขารมาร อภิสังขารเป็นมาร
เพราะเป็นตัวปรุงแต่งกรรม ทำให้เกิดชาติชรา เป็นต้น ขัดขวางไม่ให้หลุดพ้นจาก
ทุกข์ในสังสารวัฏฏ์ (ข้อ ๓ ในมาร ๕)
อมร, อมระ ผู้ไม่ตาย
เป็นคำเรียกเทวดาผู้ได้ดื่มน้ำอมฤต
อมฤต เป็นชื่อน้ำทิพย์ที่ทำผู้ดื่มให้ไม่ตาย
ตามเรื่องว่า เทวดาทั้งหลายคิดหาของเครื่องกันตาย พากันไปถามพระเป็น
เจ้า พระเป็นเจ้ารับสั่งให้กวนมหาสมุทร เทวดาทั้งหลายก็ทำตามโดยวิธีใช้ภูเขารองข้างล่างลูกหนึ่งวางข้างบนลูก
หนึ่ง ที่กลางมหาสมุทรลักษณะคล้ายโม่สำหรับโม่แป้ง เอานาคพันเข้าที่ภูเขาลูกบนแล้วช่วยกันชักสองข้าง
อาศัย
ความร้อนที่เกิดจากความหมุนเวียนเบียดเสียดแห่งภูเขา ต้นไม้ทั้งหลายที่เป็นยาบนภูเขา
ได้คายรสลงไปในมหา-
สมุทรจนข้นเป็นปลักแล้ว เกิดเป็นน้ำทิพย์ขึ้นในท่ามกลางมหาสมุทร เรียกว่า
น้ำอมฤตบ้าง น้ำสุรามฤตบ้าง
อมฤตธรรม ธรรมที่ทำให้ไม่ตาย,
ธรรมซึ่งเปรียบด้วยน้ำอมฤตอันทำผู้ดื่มให้ไม่ตาย หมายถึงพระนิพพาน
อมาตย์ ข้าราชการ,
ข้าเฝ้า, ขุนนาง, มักเรียก อำมาตย์
อมาวสี ดิถีเป็นที่อยู่ร่วมแห่งพระอาทิตย์และพระจันทร์,
วันพระจันทร์ดับ หรือวันดับ คือวันสิ้นเดือนทางจันทรคติ
(แรม ๑๕ หรือ ๑๔ ค่ำ)