อภัพ - อภิณหปัจจเวกขณ์

อภัพ ไม่ควร, ไม่อาจ, ไม่สามารถ, เป็นไปไม่ได้

อภัพบุคคล บุคคลผู้ไม่สมควร, มีความหมายตามข้อความแวดล้อม เช่น คนที่ไม่อาจบรรลุโลกุตตรธรรมได้ คนที่ขาด
คุณสมบัติ ไม่อาจให้อุปสมบทได้ เป็นต้น

อภัยทาน ให้ความไม่มีภัย, ให้ความปลอดภัย

อภิชฌา โลกอยากได้ของเขา, ความคิดเพ่งเล็งจ้องจะเอาของของคนอื่น (ข้อ ๘ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)

อภิชฌาวิสมโลภ ละโมบไม่สม่ำเสมอ, ความโลภอย่างแรงกล้า จ้องจะเอาไม่เลือกว่าควรไม่ควร (ข้อ ๑ ในอุปกิเลส ๑๖)

อภิญญา ความรู้ยิ่ง, ความรู้เจาะตรงยวดยิ่ง, ความรู้ชั้นสูง มี ๖ อย่างคือ ๑. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ ๒. ทิพพโสต
หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณที่ให้ทายใจคนอื่นได้ ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ ๕. ทิพพจักขุ ตา
ทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป, ๕ อย่างแรกเป็นโลกียอภิญญา ข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตร อภิญญา

อภิญญาเทสิตธรรม ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงด้วยพระปัญญาอันยิ่ง หมายถึง โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการมีสติ
ปัฏฐาน ๔ เป็นต้น

อภิฐาน ฐานะอย่างหนัก, ความผิดสถานหนัก มี ๖ อย่าง คือ ๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา ๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา ๓. อรหันตฆาต
ฆ่าพระอรหันต์ ๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าให้ถึงห้อพระโลหิต ๕. สังฆเภท ทำสงฆ์ให้แตกกัน ๖. อัญญสัตถุท-
เทส
ถือศาสดาอื่น

อภิณหปัจจเวกขณ์ ข้อที่ควรพิจารณาเนืองๆ, เรื่องที่ควรพิจารณาทุกๆ วัน มี ๕ อย่าง คือ ๑. ควรพิจารณาทุกวันๆ ว่า
เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ๒. ว่าเรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความเจ็บไข้ไป
ได้ ๓. ว่าเรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ๔. ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้ง
สิ้น ๕. ว่าเรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว; อีกหมวดหนึ่ง สำหรับบรรพชิต แปลว่า ธรรมที่
บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ๑๐ อย่าง (ปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์) คือ ๑. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า บัดนี้ เรามี
เพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว ๒. ว่า การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ๓. ว่าเรามีอากัปกิริยาอย่างอื่นที่จะพึงทำ ๔. ว่า ตัว
เราเองยังติเตียนตัวเราเองโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่ ๕. ว่าเพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญู ใคร่ครวญแล้ว ยังติเตียนเราโดย
ศีลไม่ได้อยู่หรือไม่ ๖. ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๗. ว่าเรามีกรรมเป็นของตน เราทำดีจัก
ได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว ๘. ว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ ๙ ว่า เรายินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่ ๑๐. ว่า คุณวิเศษที่
เราบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่ ที่จะทำให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมื่อถูกเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง (ข้อ ๑ ท่านเติม
ท้ายว่าอาการกิริยาใดๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ ข้อ ๒. เติมว่าเราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย ข้อ ๗ ท่าน
เขียนว่า อาการกายวาจาอย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ยังมีอยู่อีก ไม่ใช่เพียงเท่านี้)