อปริหานิยธรรม - อปโลกน์
อปริหานิยธรรม
ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม, ธรรมที่ทำให้ไม่เสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว
มี ๗ อย่าง
ที่ตรัสสำหรับภิกษุ (ภิกขุอปริหานิยธรรม) ยกมาแสดงหมวดหนึ่ง ดังนี้
๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ๒. เมื่อประชุมก็
พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ
๓. ไม่
บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์บัญญัติไว้แล้ว
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระ
องค์ทรงบัญญัติไว้ ๔. ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น
เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน
๕. ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น ๖. ยินดีในเสนาสนะป่า ๗. ตั้งใจอยู่ว่า
เพื่อภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่
มาสู่อาวาส ขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข
อปริหานิยธรรมที่ตรัสแก่กษัตริย์วัชชี (วัชชีอปริหานิยธรรม) สำหรับผู้รับผิดชอบต่อบ้านเมือง
มีอีกหมวด
หนึ่งคือ ๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ๒. พร้อมเพียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม
พร้อมเพรียงกันทำกิจที่
พึงทำ ๓. ไม่ถืออำเภอใจบัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่ได้บัญญัติ
ถือปฏิบัติมั่นตามวัชชีธรรม ๔. ท่าน
เหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ในชนชาววัชชี เคารพนับถือท่านเหล่านั้น เห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันพึงรับฟัง
๕. บรรดากุล
สตรีกุลกุมารีทั้งหลายมิให้อยู่อย่างถูกข่มเหงรังแก ๖. เคารพสักการะบูชาเจดีย์ของวัชชี
ทั้งภายในและภายนอก ไม่ละ
เลยการทำธรรมิกพลี ๗. จัดให้ความอารักขาคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรมแก่พระอรหันต์
(หมายถึงบรรพชิตที่เป็น
หลักใจของประชาชน) ตั้งใจให้ท่านที่ยังมิได้มา พึงมาสู่แว่นแคว้น ที่มาแล้วพึงอยู่โดยผาสุก
อปโลกน์ บอกเล่า,
การบอกเล่า, การบอกกล่าวแก่ที่ประชุมเพื่อให้รับทราบพร้อมกัน หรือขอความเห็นชอบร่วมกัน
ในกิจบางอย่างของส่วนรวม, ใช้ใน อปโลกนกรรม