อนุศาสนีปาฏิหาริยะ - อเนญชาภิสังขาร
อนุศาสนีปาฏิหาริยะ
ดู อนุสาสนีปาฏิหาริย์
อนุสติ ความระลึกถึง,
อารมณ์ที่ควรระลึกถึงเนืองๆ มี ๑๐ อย่างคือ ๑. พุทธานุสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
๒.
ธัมมานุสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม ๓. สังฆานุสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์
๔. สีลานุสติ ระลึกถึงศีลที่ตนรักษา
๕. จาคานุสติ ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว ๖. เทวตานุสติ ระลึกถึงคุณที่ทำคนให้เป็นเทวดา
๗. มรณัสสติ ระลึกถึง
ความตายที่จะต้องมีเป็นธรรมดา ๘. กายคตาสติ ระลึกทั่วไปในกายให้เห็นว่าไม่งาม
๙. อานาปานสติ ตั้งสติกำหนด
ลมหายใจเข้าออก ๑๐. อุปสมานุสติ ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบระงับกิเลสและความทุกข์
คือนิพพาน
อนุสนธิ การติดต่อ,
การสืบเนื่อง, ความ หรือเรื่องที่ติดต่อหรือสืบเนื่องกันมา
อนุสสตานุตตริยะ
การระลึกอันเยี่ยมได้แก่ การระลึกถึงพระตถาคต และตถาคตสาวก ซึ่งจะเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์
ล่วงพ้นทุกข์ได้ (ข้อ ๖ ในอนุตตริยะ ๖)
อนุสัย กิเลสที่แฝงตัวนอนเนื่องอยู่ในสันดาน
มี ๗ คือ ๑. กามราคะ ความกำหนัดในกาม ๒. ปฏิฆะ ความหงุดหงิด
๓. ทิฏฐิ ความเห็นผิด ๔. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ๕. มานะ
ความถือตัว ๖. ภวราคะ ความกำหนัดในภพ ๗. อวิชชา
ความไม่รู้จริง
อนุสาวนา คำสวดประกาศ,
คำประกาศความปรึกษาและตกลงของสงฆ์, คำขอมติ
อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์
คืออนุศาสนี, คำสอนเป็นจริง สอนให้เห็นจริง นำไปปฏิบัติได้ผลสมจริง เป็นอัศจรรย์
(ข้อ ๓ ใน ปาฏิหาริย์ ๓)
อเนกนัย นัยมิใช่น้อย,
หลายนัย
อเนญชาภิสังขาร
สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน
(ข้อ ๓ ในอภิสังขาร ๓); ตามหลักเขียน อาเนญชาภิสังขาร