อนุราธ - อนุศาสน์

อนุราธ ชื่อเมืองหลวงของลังกาสมัยโบราณ; เรียกกันว่า อนุราธปุระบ้าง อนุราธบุรีบ้าง

อนุรุทธะ พระมหาสาวกองค์หนึ่งเป็นเจ้าในศากยวงศ์ เป็นพระโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ และเป็นอนุชาของเจ้า
มหานามะ ภายหลังออกบวชพร้อมกับเจ้าชายอานนท์ เป็นต้น เรียนกรรมฐานในสำนักของพระสารีบุตร ได้บรรลุ
พระอรหัตที่ป่าปาจีนวังสทายวัน ในแคว้นเจตี พระศาสดาทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางทิพยจักษุ

อนุรูป สมควร, เหมาะสม, พอเพียง, เป็นไปตาม

อนุโลม เป็นไปตาม, คล้อยตาม, ตามลำดับ เช่น ว่าตจปัญจกกรรมฐานไปตามลำดับอย่างนี้ เกสา โลมา นขา ทันตา
ตโจ
(ตรงข้ามกับปฏิโลม คือทวนลำดับว่า ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา); สาวออกไปตามลำดับจากเหตุไปหาผลข้าง
หน้า เช่น อวิชชาเป็นเหตุ สังขารเป็นผล, สังขารเป็นเหตุ วิญญาณเป็นผล เป็นต้น; จัดเข้าได้, นับได้ว่าเป็นอย่างนั้น
เช่น อนุโลมมุสา

อนุโลมมุสา ถ้อยคำที่เป็นพวกมุสา, ถ้อยคำที่จัดได้ว่าเป็นมุสา คือ พูดเท็จ

อนุวัต ทำตาม, ประพฤติตาม, ปฏิบัติตาม; บางแห่งเขียน อนุวัตต์ อนุวรรต อนุวรรตน์ อนุวัตร หรือ อนุวัติ ก็มี

อนุวาต ผ้าขอบจีวร

อนุวาท การโจท, การฟ้อง, การกล่าวหากันด้วยอาบัติ

อนุวาทาธิกรณ์ การโจทที่จัดเป็นอธิกรณ์ คือ การโจทกันด้วยอาบัติ, เรื่องการกล่าวหากัน ดู อธิกรณ์

อนุศาสน์ การสอน, คำชี้แจง; คำสอนที่อุปัชฌาย์หรือกรรมวาจาจารย์บอกแก่ภิกษุใหม่ ในเวลาอุปสมบทเสร็จ
ประกอบด้วย นิสสัย ๔ และ อกรณียกิจ ๔, นิสสัย คือ ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต มี ๔ อย่าง ได้แก่ ๑. เที่ยว
บิณฑบาต ๒. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล ๓. อยู่โคนไม้ ๔. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า (ท่านบอกไว้เป็นทางแสวงหาปัจจัย
๔ พร้อมทั้งอติเรกลาภของภิกษุ), อกรณียกิจ กิจที่ไม่ควรทำ หมายถึงกิจที่บรรพชิตทำไม่ได้ มี ๔ อย่างได้แก่
๑. เสพเมถุน ๒. ลักของเขา ๓. ฆ่าสัตว์ (ที่ให้ขาดจากความเป็นภิกษุหมายเอาฆ่ามนุษย์) ๔. พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่
มีในตน