อธิษฐานธรรม - อนัตตลักขณสูตร
อธิษฐานธรรม
ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ, ธรรมเป็นที่มั่น มี ๔ อย่าง คือ ๑. ปัญญา ๒.
สัจจะ ๓. จาคะ ๔. อุปสมะ (รู้จัก
หาความสงบใจ)
อธิษฐานพรรษา ความตั้งใจกำหนดลงไปว่าจะอยู่จำพรรษา
ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดไตรมาส (๓ เดือน) ดู จำพรรษา
อธิษฐานอุโบสถ
อุโบสถที่ทำด้วยการอธิษฐาน ได้แก่ อุโบสถที่ภิกษุรูปเดียวทำ กล่าวคือ เมื่อในวัดมีภิกษุรูปเดียวถึง
วันอุโบสถ เธอพึงอธิษฐานคือตั้งใจหรือกำหนดใจว่า อชฺช เม อุโปสโถ แปลว่า วันนี้อุโบสถของเรา
เรียกอีกอย่าง
หนึ่งว่า ปุคคลอุโบสถ (อุโบสถของบุคคล หรือทำโดยบุคคล) ดู อุโบสถ
อนติริตตะ (อาหาร)
ซึ่งไม่เป็นเดน (ที่ว่าเป็นเดน มี ๒ คือเป็นเดนภิกษุไข้ ๑ เป็นของที่ภิกษุทำให้เป็นเดน
๑)
อนธการ ความมืด,
ความโง่เขลา; เวลาค่ำ
อนภิชฌา ไม่โลภอยากได้ของเขา,
ไม่คิดจ้องจะเอาของเขา (ข้อ ๘ ในกุศลกรรมบถ ๑๐)
อนริยปริเยสนา
การแสวงหาที่ไม่เป็นอริยะ คือ แสวงหาสิ่งที่ยังตกอยู่ในชาติ ชรามรณะ หรือสิ่งที่ระคนอยู่ด้วยทุกข์
กล่าวคือ แสวงหาสิ่งอันทำให้ติดอยู่ในโลก, สำหรับชาวบ้านท่านว่า หมายถึงการแสวงหาในทางมิจฉาชีพ
(ข้อ ๑ ใน
ปริเยสนา ๒)
อนวเสส หาส่วนเหลือมิได้,
ไม่เหลือเลย, สิ้นเชิง
อนังคณสูตร ชื่อสูตรที่
๕ แห่งมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎก เป็นคำสนทนาระหว่างพระสารีบุตรกับ
พระโมคคัลลานะ ว่าด้วยกิเลสอันยวนใจ และความต่างแห่งผู้มีกิเลสยวนใจกับผู้ไม่มีกิเลสยวนใจ
อนัตตตา ความเป็นอนัตตา
คือมิใช่ตัวมิใช่ตน (ข้อ ๓ ในไตรลักษณ์) ดู อนัตตลักษณะ
อนัตตลักขณสูตร
ชื่อพระสูตรที่แสดงลักษณะแห่งเบญจขันธ์ ว่าเป็นอนัตตา พระศาสดาทรงแสดงแก่ภิกษุปัญจ-
วัคคีย์ ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้สำเร็จพระอรหัต ด้วยได้ฟังอนัตตลักขณสูตรนี้ (มาในมหาวรรค
พระวินัยปิฎก และใน
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค พระสุตตันตปิฎก)