รูปวิจาร - โรหิณี
รูปวิจาร ความตรองในรูป
เกิดต่อจาก รูปวิตก
รูปวิตก ความตรึกในรูป
เกิดต่อจากรูปตัณหา
รูปสัญเจตนา ความคิดอ่านในรูปเกิดต่อจากรูปสัญญา
รูปสัญญา ความหมายรู้ในรูป
เกิดต่อจากจักขุสัมผัสสชา เวทนา
รูปัปปมาณิกา ผู้ถือรูปเป็นประมาณ
คือ พอใจในรูป ชอบรูปร่างสวยสง่างาม ผิวพรรณหมดจดผ่องใส เป็นต้น
รูปารมณ์ อารมณ์คือรูป,
สิ่งที่เห็นได้ด้วยตา
รูปาวจร ซึ่งท่องเที่ยวไปในรูป,
อยู่ในระดับจิตชั้นรูปฌาน, ระดับที่มีรูปธรรมเป็นอารมณ์, เนื่องในรูปภพ
รูปิยสังโวหาร
การแลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะ, การซื้อขายด้วยเงินตรง, ภิกษุกระทำ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
(โกสิย
วรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๙)
รูปียะ, รูปิยะ
เงินตรา
เรวตะ ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในการกสงฆ์ทำสังคายนาครั้งที่
๒
เรวต ขทิรวนิยะ
พระมหาสาวกองค์หนึ่งเป็นบุตรพราหมณ์ชื่อวังคันตะ มารดาชื่อนางสารี เป็นน้องชายคนสุดท้อง
ของพระสารีบุตร บวชอยู่ในสำนักของภิกษุพวกอยู่ป่า (อรัญวาสี) บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในป่าไม้ตะเคียนประมาณ
๓
เดือนเศษ ก็ได้สำเร็จพระอรหัต ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางอยู่ป่า
แรกนาขวัญ พิธีเริ่มไถนาเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนา
โรหิณี 1.
เจ้าหญิงองค์หนึ่งแห่งศากยวงศ์เป็นพระธิดาของพระเจ้าอมิโตทนะซึ่งเป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้าเป็น
กนิษฐภคินี คือน้องสาวของพระอนุรุทธ ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน 2. ชื่อแม่น้ำที่เป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่าง
แคว้นศากยะกับแคว้นโกลิยะ การแย่งกันใช้น้ำในการเกษตรเคยเป็นมูลเหตุให้เกิดกรณีพิพาทระหว่างแคว้นทั้งสอง
จนจวนเจียนจะเกิดสงครามระหว่างพระญาติ ๒ ฝ่าย พระพุทธเจ้าเสด็จมาระงับศึก
จึงสงบลงได้ สันนิษฐานกันว่า
เป็นเหตุการณ์ในพรรษาที่ ๕ (บางท่านว่า ๑๔ หรือ ๑๕) แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ
และเป็นที่มาของพระพุทธรูปปาง
ห้ามญาติ; ปัจจุบันเรียก Rowai หรือ Rohwaini