รจนา - รองเท้า
รจนา แต่ง,
ประพันธ์ เช่น อาจารย์ รจนาอรรถกถา คือผู้แต่งอรรถกถา
รตนะ ดู รัตนะ
รตนวรรค ตอนที่ว่าด้วยเรื่องรัตนะเป็นต้น
เป็นวรรคที่ ๙ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ ในมหาวิภังค์ พระวินัยปิฎก
รตนวรรคสิกขาบท
สิกขาบทในรตนวรรค
รติ ความยินดี
ร่ม สำหรับพระภิกษุ
ห้ามใช้ร่มที่กาววาว เช่น ร่มปักด้วยไหมสีต่างๆ และร่มที่มีระบายเป็นเฟือง
ควรใช้ของเรียบๆ ซึ่ง
ทรงอนุญาตให้ใช้ได้ในวัดและอุปจาระแห่งวัด ห้ามกั้นร่มเข้าบ้านหรือกั้นเดินตามถนนหนทางในละแวกบ้าน
เว้นแต่
เจ็บไข้ ถูกแดดถูกฝนอาพาธจะกำเริบ เช่น ปวดศีรษะ ตลอดจน (ตามที่อรรถกถาผ่อนให้)
กั้นเพื่อกันจีวรเปียกฝนใน
เวลาฝนตก กั้นเพื่อป้องกันภัย กั้นเพื่อรักษาตัวเช่นในเวลาแดดจัด
รมณีย์ น่าบันเทิงใจ,
น่ารื่นรมย์, น่าสนุก
รส อารมณ์ที่รู้ได้ด้วยลิ้น
(ข้อ ๔ ในอารมณ์ ๖), โดยปริยาย หมายถึงความรู้สึกชอบใจ
รองเท้า ในพระวินัยกล่าวถึงรองเท้าไว้
๒ ชนิดคือ ๑. ปาทุกา แปลกันว่าเขียงเท้า (รองเท้าไม้หรือเกี๊ยะ) ซึ่งรวมไปถึง
รองเท้าโลหะ รองเท้าแก้ว หรือรองเท้าประดับแก้วต่างๆ ตลอดจนรองเท้าสานรองเท้าถักหรือปักต่างๆ
สำหรับพระ
ภิกษุห้ามใช้ปาทุกาทุกอย่าง ยกเว้นปาทุกาไม้ที่ตรึงอยู่กับที่สำหรับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะและเป็นที่ชำระขึ้นเหยียบ
ได้ ๒. อุปาหนา รองเท้าสามัญ สำหรับพระภิกษุทรงอนุญาตรองเท้าหนังสามัญ
(ถ้าชั้นเดียว หรือมากชั้นแต่เป็นของ
เก่าใช้ได้ทั่วไป ถ้ามากชั้นเป็นของใหม่ ใช้ได้เฉพาะแต่ในปัจจันตชนบท) มีสายรัด
หรือใช้คีบด้วยนิ้วไม่ปกหลังเท้า ไม่
ปกส้น ไม่ปกแข้ง นอกจากนั้น ตัวรองเท้าก็ตาม หูหรือสายรัดก็ตาม จะตองไม่มีสีที่ต้องห้าม
(คือ สีขาบ เหลือ แดง
บานเย็น แสด ชมพู ดำ) ไม่ขลิบด้วยหนังสัตว์ที่ต้องห้าม (คือ หนังราชสีห์ เสือโคร่ง
เสือเหลือ ชะมด นาค แมว ค่าง นก
เค้า) ไม่ยัดนุ่น ไม่ตรึงหรือประดับด้วยขนนกกระทา ขนนกยูง ไม่มีหูเป็นช่อดังเขาแกะเขา
แพะหรือง่ามแมงป่อง รอง
เท้าที่ผิดระเบียบเหล่านี้ถ้าแก้ไขให้ถูกต้องแล้ว เช่น สำรอกสีออก เอาหนังที่ขลิบออกเสีย
เป็นต้น ก็ใช้ได้ รองเท้าที่ถูก
ลักษณะทรงอนุญาตให้ใช้ได้ในวัด ส่วนที่มิใช่ต้องห้ามและในป่า ห้ามสวมเข้าบ้านและถ้าเป็นอาคันตุกะเข้าไปในวัด
อื่นก็ให้ถอด ยกเว้นแต่ฝ่าเท้าบางเหยียบพื้นแข็งแล้วเจ็บ หรือในฤดูร้อน พื้นร้อนเหยียบแล้วเท้าพอง
หรือในฤดูฝนไป
ในที่แฉะภิกษุผู้อาพาธด้วยโรคกษัยสวมกันเท้าเย็นได้