ฆฏิการพรหม - โฆสิตาราม
ฆฏิการพรหม
พระพรหมผู้นำสมณบริขารมีบาตรและจีวร เป็นต้น มาถวายแด่พระโพธิสัตว์เมื่อคราวเสด็จออก
บรรพชา (มติของพระอรรถกถาจารย์)
ฆนะ ก้อน, แท่ง
ฆนสัญญา ความสำคัญว่าเป็นก้อน,
ความสำคัญเห็นเป็นชิ้นเป็นอัน ซึ่งบังปัญญาไม่ให้เห็นภาวะที่เป็นอนัตตา
ฆนิโตทนะ กษัตริย์ศากยวงศ์
เป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๕ ของพระเจ้าสีหหนุ เป็นพระอนุชาองค์ที่ ๔ ของพระเจ้า
สุทโธทนะ เป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้า
ฆราวาส การอยู่ครองเรือน,
ชีวิตชาวบ้าน; ในภาษาไทย มักใช้หมายถึงผู้ครองเรือน คือ คฤหัสถ์
ฆราวาสธรรม
หลักธรรมสำหรับการครองเรือน, ธรรมของผู้ครองเรือน มี ๔ อย่างคือ ๑. สัจจะ
ความจริง เช่น ซื่อ
สัตย์ต่อกัน ๒. ทมะ ความฝึกฝนปรับปรุงตน เช่น รู้จักข่มใจ ควบคุมอารมณ์
บังคับตนเองปรับตัวเข้ากับการงานและ
สิ่งแวดล้อมให้ได้ดี ๓. ขันติ ความอดทน ๔. จาคะ ความเสียสละเผื่อแผ่
แบ่งปัน มีน้ำใจ
ฆราวาสวิสัย วิสัยของฆราวาส,
ลักษณะที่เป็นภาวะของผู้ครองเรือน, เรื่องของชาวบ้าน
ฆราวาสมบัติ สมบัติของการครองเรือน,
ความพรั่งพร้อมสมบูรณ์ของชีวิตชาวบ้าน
ฆานะ จมูก
ฆานวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะกลิ่นกระทบจมูก,
กลิ่นกระทบจมูก เกิดความรู้ขึ้น, ความรู้กลิ่น
ฆานสัมผัส อาการที่
จมูก กลิ่น และฆานวิญญาณประจวบกัน
ฆานสัมผัสสชาเวทนา
เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่จมูก กลิ่น
และฆานวิญญาณ
ประจวบกัน
โฆสัปปมาณิกา คนพวกที่ถือเสียงเป็นประมาณ,
คนที่นิยมเสียง เกิดความเลื่อมใสศรัทธาเพราะเสียง ชอบฟังเสียง
ไพเราะ เช่น เสียงสวดสรภัญญะ เทศน์มหาชาติเป็นทำนอง เสียงประโคมเป็นต้น; อีกนัยหนึ่งว่า
ผู้ถือชื่อเสียง
กิตติศัพท์ หรือความโด่งดังเป็นประมาณ เห็นใครมีชื่อเสียงก็ตื่นไปตาม
โฆสิตาราม ชื่อวัดสำคัญในกรุงโกสัมพี
ครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าเคยประทับหลายครั้ง เช่น คราวที่ภิกษุชาวโกสัมพี
แตกกัน เป็นต้น